04 กันยายน 2552

ปวดเมื่อยมหันตภัยร้าย ภัยของทุกวัยในสังคม

ปวดเมื่อยมหันตภัยร้าย ภัยของทุกวัยในสังคม
นั่งทำงานหลายชั่วโมง ร่างกายรับไม่ไหวกลายเป็นโรคภัยไข้เจ็บไปในที่สุด

ปัจจุบันวิถีชีวิตของผู้คนในยุคสมัยใหม่ ตั้งแต่วัยเด็กเล็กไปจนถึงวัยเกษียณอายุ ล้วนแล้วแต่ประสบกับปัญหาความเมื่อยล้าอันเนื่องมาจากการใช้กล้ามเนื้อจน เกินไป ไม่ว่าจะเป็นต้องนั่งหลังคดหลังแข็งท่องหนังสือ นั่งทำงานหลายชั่วโมงติดต่อกัน ฯลฯ จนร่างกายรับไม่ไหวกลายเป็นโรคภัยไข้เจ็บไปในที่สุด

คุณเพ็ญพิชชา กร แสนคำ นักกายภาพประจำสถาบันปรับโครงสร้างอริยะ กล่าวว่า เด็กรุ่นใหม่สมัยนี้จะมีโรคภัยไข้เจ็บง่ายเพราะเอาแต่เรียนไม่มีกิจกรรมอื่น เสริมเหมือนในสมัยก่อน เพราะเด็กมีความยืดหยุ่นดีจึงทำให้เขามีอาการที่ไม่ชัดเจน แต่สิ่งที่จะเห็นได้ชัดในวัยเด็กก็คือ ความผิดปกติของโครงสร้างร่างกายหรือ ความผิดปกติของระบบกระดูกสันหลัง ซึ่งอาจทำให้รบกวนพัฒนาการของเด็กได้ ไม่ว่าจะเป็นหลังค่อม หลังคด อ้วน หลังแอ่น เหล่านี้พ่อแม่หลายท่านอาจจะไม่ได้นึกถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับเด็กในอนาคต แต่จะกังวลเรื่องบุคลิกภาพ เกรงว่าเมื่อโตขึ้นจะทำให้บุคลิกภาพไม่ดี โดยเฉพาะเด็กผู้หญิง เมื่อย่างเข้าวัยสาวก็จะทำให้มีปัญหาได้ เด็กบางคนมีความผิดปกติจนถึงขั้น สะโพกเอียงไปข้างหนึ่ง หรือหลังไหล่ค่อมจนทำให้ดูไม่สูงก็มี ซึ่งหากดูแลโครงสร้างร่างกายให้ดี ปรับโครงสร้างร่างกายในเด็กกลุ่มนี้แล้วจะทำให้เขามีบุคลิกที่ดีขึ้น ตัวสูงขึ้นจากการปรับโครงสร้างร่างกาย (แรงอัดในช่องว่างกระดูกสันหลังน้อยลง) และที่สำคัญที่สุดเมื่อเขาโตขึ้นอยู่ในวัยทำงานเขาก็จะสามารถทำงานและเป็น ผู้ใหญ่อย่างมีประสิทธิภาพ

ส่วนวัยทำงานเป็นวัยที่ต้องใช้ร่าง กายหนักมากที่สุด จนในที่สุด เกิดโรคใหม่ของคนวันทำงาน ที่เรียกว่า Office Syndrome เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นจากการทำงานที่หนักมากเกินไป ใช้ร่างกายอยู่ในท่าเดิมๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ ซ้ำๆกัน วันหนึ่งหลายชั่วโมง และต่อเนื่องกันมานานหลายปี รวมถึงไม่ได้ดูแลร่างกายอย่างถูกต้องจึงก่อให้เกิดปัญหาตามมาเช่น โรคปวดหลัง,ปวดคอ,หมอนรองกระดูกเคลื่อน/ทรุด/และเสื่อมก่อนวัยอันควร ,อ่อนแรง-ชาตามมือ/แขน/ขา ฯลฯ โดยปกติอาการเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนหากคุณไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง แล้ว นอกจากจะกลายเป็นอาการเรื้อรังรักษาไม่หาย ก็อาจทำให้เป็นโรคร้ายได้ เช่น หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาจถึงขั้นอัมพฤกษ์อัมพาตก็ได้

ด้าน ผู้สูงอายุทั้งหลาย ที่พบได้บ่อย คือ การปวดเมื่อยตามร่างกาย อันเนื่องมาจากร่างกายมีความเสื่อมอยู่แล้วแต่หากความเสื่อมนั้นเข้ามารุม เร้าก่อนวัยอันควรก็จะทำให้เป็นปัญหาต่อการใช้ชีวิตประจำวันมาก รวมถึงมีผลกระทบกับคนรอบข้างอีกด้วยเพราะถ้าต้องเป็นภาระของคนอื่นด้วยแล้ว ยิ่งทำให้สุขภาพจิตย่ำแย่ตามมาด้วย

ในทางของธรรมชาติบำบัดบอกไว้ว่า ความเจ็บปวดและอาการต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกที่ร่างกายแสดงออกมาให้เรารับรู้นั้นเป็นสัญญาณเตือนภัย ที่จะบอกเราว่าเราเริ่มมีความผิดปกติเกิดขึ้นแล้ว ความเมื่อยล้าหรืออาการปวดเมื่อยก็เช่นเดียวกันเป็นสัญญาณอย่างถึงที่บ่งบอก ไปถึงความผิดปกติของระบบกระดูกกล้ามเนื้อ ซึ่งระบบกระดูกกล้ามเนื้อเป็นระบบที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิตหนึ่ง ชีวิต นั่นคือ ระบบกระดูกกล้ามเนื้อเป็นทางผ่านของระบบเส้นประสาท เลือด น้ำเหลือง ฯลฯ ซึ่งสมองเป็นตัวสั่งการให้ร่างกายทุกส่วนทำงานอย่างเป็นปกติ ส่งผ่านทุกหน่วยย่อยของเส้นประสาท เซลล์จะได้รับอาหารและถ่ายเทของเสียโดยผ่าน ระบบเลือด/น้ำเหลือง ซึ่งผ่านไปตามแนวของกล้ามเนื้อ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าร่างกายคนเราจะทำงานให้เต็มศักยภาพก็ต่อเมื่อระบบ กระดูกกล้ามเนื้อ ระบบไหลเวียน ต้องอยู่ภายใต้ระบบกระดูกกล้ามเนื้อที่สมดุลและแข็งแรงไปพร้อมๆ กัน

สิ่ง หนึ่งที่แน่นอนว่าจะเป็นทางออกของปัญหาดังกล่าว ก็คือ การรู้จักดูแลป้องกันตัวเองก่อนที่ตนเองก่อนจะสายเกินไป นั่นคือ การปรับโครงสร้างร่างกายเป็นการปรับสภาวะของระบบกระดูกกล้ามเนื้อให้แข็งแรง และสมดุลกัน กระดูกวางตัวอยู่ในความโค้งที่ปกติ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและข้อต่อมีความแข็งแรงทนทานเพียงพอต่อการใช้งานในไลฟท์สไตล์ ของแต่ละคน

นอกจากนี้ การปรับโครงสร้างร่างกายยังรวมถึงการอยู่ในท่าทางและอิริยาบถที่ถูกต้อง เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นท่าทางการทำงาน การเดิน การยืน การนั่ง การนอน ฯลฯ เช่นการนอนที่เหมาะสมที่สุดคือนอนหงายมีหมอนรองใต้ข้อเข่า การยืนควรยืนลงน้ำหนักให้เท้าสองข้างลงน้ำหนักเท่าๆ กัน การนั่งไม่ควรนั่งไขว้ห้าง หรือนั่งเท้าแขน ควรเลื่อนก้นให้ชิดพนักพิง ยืดลำตัวตรง หากต้องนั่งทำงานติดต่อกันหลายชั่วโมง ก็ควรมีช่วงพัก เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง เพื่อให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย ยืดกล้ามเนื้อบ้าง ฯลฯ

สำหรับผู้สนใจเพิ่มเติมสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันปรับโครงสร้างร่างกายอริยะ ชั้น 1 ไลฟ์เซ็นเตอร์ ตึกคิว เฮ้าส์ ลุมพินี โทร.02-677-7166

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นครับ

ให้คะแนนข้อเขียนนี้...คุณจะให้กี่ดาวดีจ๊ะ