แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ utqonline แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ utqonline แสดงบทความทั้งหมด

08 พฤศจิกายน 2553

ประเภทของคำถาม

ประเภทของคำถาม


ประเภทของคำถามจำแนกออกเป็น 22 ชนิด คือ


1. คำถามเพื่อวัดความจำ (recall)


2. คำถามเพื่อจัดลำดับความจำ (qualified recall)


3. คำถามเพื่อเปรียบเทียบ (comparison)


4. คำถามเพื่อบอกความแตกต่าง (contrast)


5. คำถามเพื่อประมวลผล (evaluation)


6. คำถามเพื่อหาสาเหตุ (cause)


7. คำถามเพื่อถามผล (effect)


8. คำถามเพื่อให้แสดงโดยใช้ภาพประกอบ (illustration)


9. คำถามเพื่อจัดกลุ่ม (classification)


10. คำถามเพื่อสรุป (gemeralization)


11. คำถามเพื่อให้คำจำกัดความ (defintion)


12. คำถามเพื่อพิสูจน์ (proof)


13. คำถามเพื่อบรรยาย (description)


14. คำถามเพื่อแสดงลักษณะ (characterization)


15. คำถามเพื่อบอกความสัมพันธ์ (relationship)


16. คำถามเพื่อเล่าเรื่องย่อ (summary)


17. คำถามเพื่อวิจารณ์ (criticism)


18. คำถามเพื่อการนำไปใช้ (application)


19. คำถามเพื่อให้รวบรวม (organization)


20. คำถามเพื่อให้เลือก (alternative)


21. คำถามเพื่อวิเคราะห์ (analysis)


22. คำถามเพื่อสังเคราะห์ (synthesis)




วัตถุประสงค์ในการถามคำถาม


1. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน


2. ทดสอบความเข้าใจของผู้เรียน


3. ทำให้ผู้เรียนตั้งใจเรียน


4. ทดสอบความรู้ของผู้เรียน


5. ดูจุดอ่อน จุดแข็งของผู้เรียน


6. เริ่มต้นการอภิปราย หรือวิธีการสอนแบบอื่น


7. ให้ผู้เรียนเกิดความภูมิใจที่สามารถตอบถูก


8. ฝึกให้รู้จักอภิปรายปัญหา


9. ดูการร่วมกิจกรรมของผู้เรียน


10. ทบทวน


11. กระตุ้นให้ผู้เรียนอยากรู้


12. วัดผลการสอนของวิทยากร


13. ดึงความสนใจของผู้เรียนกลับมา




ลักษณะของคำถามที่ดี


เยาคามและซิมซัน (Gerald A. Yoakam and Robert G. simpson) ได้ให้ลักษณะของคำถามที่ดีไว้ดังนี้


1. ชัดแจ้ง ผู้เรียนสามารถเข้าใจได้โดยง่าย แม้ว่าตนเองจะไม่ทราบคำตอบ แต่ผู้เรียนเข้าใจว่าผู้ถามต้องการถามอะไร เช่น “ใครเป็นกษัตริย์ของอังกฤษ ?” จัดเป็นคำถามที่ดี แต่ถ้าถามว่า “ใครเป็นกษัตริย์” จะเป็นคำถามที่ไม่ชัดแจ้ง


2. ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายต่อการเข้าใจ ไม่เกินที่ผู้ตอบในวัยนั้นจะเข้าใจ


3. ท้าทาย เป็นคำถามที่เร้าและกระตุ้นให้ผู้เรียนคิด เช่น “การที่รัฐบาลจะขายรัฐวิสาหกิจให้กับต่างประเทศ พวกเราคิดว่าเหมาะสมหรือไม่ ?”


4. เป็นคำถามที่แน่นอน ที่ต้องการคำตอบที่เป็นข้อเท็จจริง ไม่ใช่เป็นคำถามที่เป็นปัญหาโลกแตก เช่น “ท่านคิดว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ไทยประสบปัญหาเศรษฐกิจ ?”


5. เฉพาะเจาะจง คำถามที่ดีต้องการคำตอบที่เฉพาะเจาะจง มากกว่าคำตอบทั่วๆ ไป




ข้อควรคำนึงในการถาม


คันนิ่งแฮม (Cunningham) ได้เสนอแนะว่าในการใช้คำถาม วิทยากรควรหลีกเลี่ยงคำถามดังต่อไปนี้


1. การตั้งคำถามที่สับสน ซึ่งรวมหลายๆ ความคิดเข้าด้วยกัน


2. คำถามที่ป้อนคำตอบ ซึ่งแนะนำแนวทางให้ผู้ตอบมากเกินไป


3. คำถามคลุมเครือ ซึ่งขาดหลักเกณฑ์ที่จะนำมาตอบคำถามได้ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ตอบเดาคำตอบ


4. คำถามใช่ – ไม่ใช่ ซึ่งผู้ตอบจะตอบเพียงใช่ - ไม่ใช่เท่านั้น


การสอนโดยการใช้คำถาม เป็นวิธีการที่แทรกปะปนกับวิธีการสอนแบบอื่นๆ เช่น การสอนแบบสืบสอนสอบสวน การสอนแบบบรรยาย การสอนแบบสาธิต ฯลฯ ทุกวิชา ทุกสาขา ต้องมีการสอนแบบใช้คำถาม กลวิธีการใช้การสอนแบบนี้ อาจทำได้ทั้งการนำเข้าสู่บทเรียน การสรุปบทเรียน การดำเนินการสอน และการเร้าความสนใจ ประสิทธิผลในการสอนแบบนี้ ขึ้นอยู่กับวิทยากรมีความสามารถในการตั้งคำถามได้ดีเพียงใดเป็นประการสำคัญ




10. การใช้สื่อ โสตทัศนูปกรณ์


อุปกรณ์ต่างๆ เช่น รูปภาพ สไลด์ วีดีโอ เทปบันทึกเสียง คอมพิวเตอร์ มีส่วนทำให้งานของวิทยากรง่ายขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีคำถามว่า ในการบรรยายของวิทยากรทุกครั้ง จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์หรือไม่




วิทยากรควรใช้อุปกรณ์ประกอบการบรรยายเมื่อไร


วิทยากรจะใช้อุปกรณ์ประกอบการบรรยายเมื่อ


1. ต้องการให้ผู้เรียนเข้าใจได้มากขึ้น


2. เรื่องที่พูดชัดเจนขึ้น


3. เมื่ออุปกรณ์นั้นสร้างความสนใจและดึงดูดความสนใจ


4. ประหยัดเวลาในการบรรยาย


5. เวทีหรือสถานที่เหมาะสมที่จะใช้อุปกรณ์


6. คุ้มค่ากับเวลา เงิน และความพยายามในการลงมือจัดทำ


7. อุปกรณ์นั้นสอดคล้องกับเรื่องที่พูด


8. ให้จำง่ายและก่อให้เกิดแนวคิดในสิ่งที่เรียน






วิธีการเลือกอุปกรณ์ประกอบการบรรยาย


วิธีการเลือกอุปกรณ์ประกอบการบรรยายมีดังต่อไปนี้


1. มีขนาดพอเหมาะกับจำนวนผู้เรียน เช่น เครื่องรับโทรทัศน์ เมื่อฉายวีดีโอที่มีขนาดใหญ่ หรือมีเครื่องฉาย วีดีโอโปรเจคเตอร์ฉายขึ้นจอใหญ่ ทำให้ทุกคนเห็นได้ชัด


2. จำนวนพอเพียงกับผู้เรียน หรือผู้เรียนมีโอกาสหมุนเวียนทดลองใช้อย่างทั่วถึง เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องมือประกอบการฝึกหัด


3. สภาพของอุปกรณ์อยู่ในสภาพซึ่งใช้งานได้ดี เช่น ภาพของวีดีโอควรชัดเจน ไม่พร่ามัว

06 พฤศจิกายน 2553

ลักษณะสำคัญของการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาแบบอิงมาตรฐาน

ลักษณะสำคัญของการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาแบบอิงมาตรฐาน มีดังนี้

1) ทุกองค์ประกอบของหลักสูตรสถานศึกษาต้องเชื่อมโยงกับมาตรฐานการเรียนรู้

2) หน่วยการเรียนรู้ที่เป็นหัวใจของหลักสูตรสถานศึกษา

3) การจัดการเรียนรู้ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ ต้องช่วยให้ผู้เรียนบรรลุมาตรฐานและตัวชี้วัดที่ระบุในหน่วยการเรียนรู้นั้น ๆ

4) การวัดและประเมินผลชิ้นงาน / ภาระงานที่กำหนดในหน่วยการเรียนรู้ ควรเป็นการประเมินการปฏิบัติหรือการแสดงความสามารถของผู้เรียน (Performance Assessment)

5) ชิ้นงานหรือภาระงานที่กำหนดให้นักเรียนปฏิบัติ ควรเชื่อมโยงมาตรฐาน 2 – 3 มาตรฐาน

6) มีความยืดหยุ่นในกระบวนการ และขั้นตอนการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ เช่น อาจเริ่มต้นจากการวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ หรืออาจเริ่มจากความสนใจของนักเรียนหรือสภาพปัญหาของชุมชนก็ได้

05 พฤศจิกายน 2553

การเรียนรู้แบบร่วมมือโดยวิธีนิทรรศการ(Exhibition)

การเรียนรู้แบบร่วมมือโดยวิธีนิทรรศการ(Exhibition)
การเรียนรู้แบบร่วมมือ(Cooperative Learning) เป็นกระบวนการเรียนรู้ ที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างทักษะของการอยู่ร่วมกันในสังคม และทักษะในด้านเนื้อหาวิชาการต่างๆ เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยจัดให้นักเรียนที่มีความสามารถต่างกัน เรียนและทำงานด้วยกันเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 2-4 คน โดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันภายในกลุ่ม ผู้เรียนเก่งกว่าจะช่วยผู้เรียนอ่อนกว่า การยอมรับซึ่งกันและกัน การรู้จักแบ่งหน้าที่ ความรับผิดชอบ ความมีน้ำใจ รวมทั้ง ความเอื้ออาทรซึ่งมีให้กันสำหรับสมาชิกภายในกลุ่ม จะนำมาซึ่งความสำเร็จในการเรียนรู้

กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีรูปแบบอย่างหลากหลาย อาทิ Jigsaw , Team Game Tournament(TGT) , Student Team Achievement Division(STAD) , Team Assisted Individualization(TAI) , Learning Together(LT) , Group Investigation(GI) , Think Pair Share , Pair Check , Three Step Interview , Number Head Together , Roundrobin เป็นต้น

จากประสบการณ์จัดกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือที่ผ่านมา ใคร่ขอนำเสนอเทคนิคการจัดการเรียนรู้ ซึ่งผู้เขียนได้นำหลายๆรูปแบบของการเรียนรู้มาผสมผสาน ทำให้นักเรียนมีความเอาใจใส่ และตั้งใจเรียนมากขึ้น รวมทั้งสนุกสนานกับการเรียน ผู้เขียนขอเรียกเองว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือโดยวิธีนิทรรศการ(Exhibition)

ขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยวิธีนิทรรศการ ประกอบด้วย

1. แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มประกอบด้วยผู้เรียนที่เก่ง ปานกลาง อ่อน คละกัน

2. แบ่งเรื่องที่จะศึกษาออกเป็นหัวข้อย่อยๆ

3. แต่ละกลุ่มเลือกหัวข้อย่อยเพื่อจะศึกษา หรืออาจสุ่มด้วยวิธีการจับฉลาก

4. สมาชิกในกลุ่มร่วมกันศึกษาหัวข้อย่อยที่เลือกได้ จากแหล่งข้อมูลต่างๆที่ผู้สอนจัดเตรียมไว้ อาทิ ใบความรู้ ใบงาน เอกสารประกอบการเรียน หนังสือเรียน ฯลฯ โดยแบ่งหน้าที่กันทำงาน ซึ่งอาจเป็นดังนี้

■สมาชิกคนที่ 1 เขียนผังมโนมติ(Mind Mapping)
■สมาชิกคนที่ 2 เขียนแผนภาพ เพื่อเป็นสื่อการเรียนรู้
■สมาชิกคนที่ 3 สร้างแบบประเมินผลการเรียนรู้
■สมาชิกคนที่ 4 ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
5. ผู้เรียนแต่ละกลุ่มจัดนิทรรศการ โดยใช้ผังมโนมติ แผนภาพ ที่ได้จัดเตรียมไว้ เป็นอุปกรณ์ในการจัด

6. สมาชิกตัวแทนกลุ่มอย่างน้อย 1 คน สับเปลี่ยนกันประจำสถานที่ ที่จัดนิทรรศการของตนเอง เพื่อนำเสนอความรู้ให้กับเพื่อนสมาชิกกลุ่มอื่นๆ โดยใช้ผังมโนมติและแผนภาพ ประกอบการนำเสนอ หรือเป็นสื่อการเรียนรู้ จากนั้นประเมินผลการเรียนรู้เพื่อนสมาชิกกลุ่มอื่นๆทุกคน ซึ่งเข้าชมนิทรรศการ

7. สมาชิกทุกคนในกลุ่มแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เกี่ยวกับหัวข้อย่อยต่างๆที่ตนเองได้ไปศึกษามา

02 พฤศจิกายน 2553

การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Cooperative Learning)

การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Cooperative Learning)
หมายถึง กิจกรรมการเรียนการสอนที่แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ส่งเสริมให้นักเรียนทำงานร่วมกัน โดยในกลุ่มประกอบด้วยสมาชิกที่มีความสามารถแตกต่างกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการช่วยเหลือพึ่งพาซึ่งกันและกัน และมีความรับผิดชอบร่วมกัน ทั้งในส่วนตนและส่วนรวม เพื่อให้ตนเองและสมาชิกทุกคนในกลุ่มประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือมีข้อดีหลายประการ อาทิ

— ช่วยพัฒนาความเชื่อมั่นของนักเรียน
— ช่วยพัฒนาความคิดของนักเรียน
— ช่วยยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน

— ช่วยส่งเสริมบรรยากาศในการเรียน
— ส่งเสริมทักษะการทำงานร่วมกัน

— ทำให้นักเรียนมีวิสัยทัศน์หรือมุมมองกว้างขึ้น
— ช่วยการปรับตัวในสังคมดีขึ้น



การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีรูปแบบอย่างหลากหลาย ดังต่อไปนี้

1.คิดและคุยกัน(Think Pairs Share) , เพื่อนเรียน(Partners) , ผลัดกันพูด(Say and Switch)

ทั้ง 3 รูปแบบเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่คล้ายคลึงกัน ให้นักเรียนจับคู่กันในการตอบคำถาม อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นสถานการณ์ หรือทำความเข้าใจเนื้อหาที่เป็นความคิดรวบยอดที่กำหนดให้

2.กิจกรรมโต๊ะกลม(Roundtable หรือ Roundrobin)

เป็นรูปแบบการสอนที่จัดกลุ่มนักเรียนที่มีจำนวนมากกว่า 2 คนขึ้นไป เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคน เขียนความคิดเห็นของตน บอกเล่าประสบการณ์ความรู้ หรือสิ่งที่ตนกำลังศึกษาให้เพื่อนคนที่อยู่ถัดไปโดยเวียนไปทางด้านใดด้านหนึ่ง สมาชิกทุกคนจะใช้เวลาเท่าๆกันหรือใกล้เคียง

3.คู่ตรวจสอบ(Pairs Check) , มุมสนทนา(Corners) , ร่วมกันคิด(Numbered Heads together)

เป็นรูปแบบการสอนที่คล้ายคลึงกัน คือ เป็นการจัดการเรียนการสอนที่แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ให้ช่วยกันตอบคำถาม แก้โจทย์ปัญหา หรือทำแบบฝึกหัด เมื่อสมาชิกทุกคนในกลุ่มย่อยสามารถตอบปัญหา หรือแก้โจทย์ได้แล้ว ให้แลกเปลี่ยนกันตรวจสอบคำตอบ โดยการจับคู่ตรวจสอบ หรือจัดมุมสนทนา

4.การสัมภาษณ์แบบสามขั้นตอน(Three Step Interview)

รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบนี้มี 3 ขั้นตอน โดยครูกำหนดคำถามหรือประเด็นโจทย์ปัญหาให้นักเรียนตอบ มีหลักการดังนี้

— นักเรียนจับคู่กัน คนที่ 1 เป็นผู้สัมภาษณ์โดยถามคำถามให้คนที่ 2 เป็นผู้ตอบ

— นักเรียนสลับบทบาทกัน จากผู้ถามเป็นผู้ตอบ และจากผู้ตอบเป็นผู้ถาม
— นักเรียนในแต่ละกลุ่มย่อย ผลัดกันเล่า สิ่งที่ตนรู้จากคู่ของตน ให้กลุ่มทราบ

5.การแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม(Team Games Tournament หรือ TGT) , การแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์(Student Team Achievement Division หรือ STAD)

เป็นรูปแบบการสอนที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนคล้ายคลึงกัน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

— การนำเสนอบทเรียน(Class Presentation)

— การจัดทีม(Team)

— การแข่งขัน/การทดสอบ(TGTใช้การแข่งขัน ส่วน STADใช้การทดสอบ)

— การยอมรับความสำเร็จของทีม(Team Recognition)

6.ปริศนาความรู้(Jigsaw)

เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ทุกกลุ่มจะได้รับมอบหมายให้ทำกิจกรรมเดียวกันโดยครูผู้สอนแบ่งเนื้อหาของเรื่องที่จะเรียน ออกเป็นหัวข้อย่อยเท่าจำนวนสมาชิกแต่ละกลุ่ม และมอบหมายให้นักเรียนแต่ละคนในกลุ่มค้นคว้าคนละหัวข้อย่อย โดยนักเรียนแต่ละคนจะเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง ที่ตนได้รับมอบหมายจากกลุ่ม สมาชิกต่างกลุ่มที่ได้รับมอบหมายในหัวข้อเดียวกันจะร่วมกันศึกษา จากนั้นแต่ละคนจะกลับเข้ากลุ่มเดิมของตน เพื่ออธิบายหัวข้อที่ตนศึกษาให้เพื่อนร่วมกลุ่มฟัง

7.การสืบสอบเป็นกลุ่ม(Group Investigation)

เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นบรรยากาศการทำงานร่วมกัน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และการเรียนรู้ ที่จะดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างเหมาะสม กล่าวคือ สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มจะเลือกหัวข้อย่อย และเลือกวิธีการแสวงหาคำตอบในเรื่องนั้นๆด้วยตัวเอง หลังจากนั้นสมาชิกแต่ละคน จะรายงานความก้าวหน้าและผลการทำงานให้กลุ่มตนเองทราบ

8.การเรียนรู้เป็นกลุ่มเพื่อช่วยเหลือเพื่อนเป็นรายบุคคล(Team Assisted Individualization หรือ TAI)

เป็นการเรียนการสอนที่ผสมผสานระหว่างการจัดการเรียนแบบร่วมมือ และการเรียนการสอนแบบรายบุคคลเข้าด้วยกัน เน้นการสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเองตามความสามารถ ส่งเสริมความร่วมมือภายในกลุ่ม มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้และปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

9.การเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสานการอ่านและการเขียน(Cooperative Integrated Reading and Composition หรือ CIRC)

เป็นรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่มีองค์ประกอบน่าสนใจ ได้แก่ การสร้างกลุ่มอ่าน การจัดกลุ่มย่อย กิจกรรมการอ่านพื้นฐาน การหาเพื่อนช่วยตรวจสอบ การทดสอบ การสอนอ่าน การสอนเขียน เป็นต้น

เก็บข้อมูลทำแฟ้มสะสมผลงานครู และพัฒนาตนเองด้วยการเป็นวิทยากร กันครับ

รูปแบบจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ สามารถจัดได้อย่างหลากหลาย แต่ทุกแบบมีลักษณะร่วมกัน คือ แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อยๆประมาณ 2-6 คน โดยสมาชิกทุกคนช่วยเหลือกัน มีการฝึกฝนการทำงานกลุ่ม กระบวนการ กลุ่ม และการประเมินผลเป็นรายบุคคล นอกจากนี้ ยังพบว่าไม่มีรูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งสามารถใช้ได้กับบทเรียนได้ทุกลักษณะ ในการเรียนการสอนเนื้อหาในบทหนึ่งๆ ครูผู้สอนอาจจะต้องใช้รูปแบบมากกว่าหนึ่งรูปแบบมาผสมผสาน
ให้คะแนนข้อเขียนนี้...คุณจะให้กี่ดาวดีจ๊ะ