แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ข่าวการศึกษา แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ข่าวการศึกษา แสดงบทความทั้งหมด

16 ตุลาคม 2555

ขอเทียบตำแหน่งครูเท่าข้าราชการพลเรือน เพื่อสิทธิในการขอพระราชทานเครื่องราชฯ


ขอเทียบตำแหน่งครูเท่าข้าราชการพลเรือน เพื่อสิทธิในการขอพระราชทานเครื่องราชฯ

   นางศิริพร กิจเกื้อกูล เลขาธิการ ก.ค.ศ. เปิดเผยว่า การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาปัจจุบันนี้ จะต้องใช้หลักเกณฑ์ตามบัญชี 7 แนบท้ายระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ.2536 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งกำหนดให้ผู้ที่จะขอพระราชทานเครื่องราช ชั้นสายสะพาย ป.ม.ได้ ต้องดำรงตำแหน่งเป็นผู้บังคับบัญชาและเงินเดือนถึงขั้นสูงของระดับ 8 (53,080 บาท) และขอได้ในปีก่อนปีที่จะเกษียณอายุราชการ หรือในปีที่เกษียณอายุราชการเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากข้าราชการพลเรือนสามัญ ในปัจจุบันที่ได้ใช้หลักเกณฑ์ตามบัญชี 41 ที่กำหนดให้ผู้ขอดำรงตำแหน่งชำนาญการพิเศษและได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูง (53,808 บาท) สามารถเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย ป.ม.ได้

   เลขาธิการ ก.ค.ศ. กล่าวต่อว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ก.ค.ศ. จึงเห็นว่าตามโครงสร้างของตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีลักษณะเป็นตำแหน่งทางวิชาการเนื่องจากมีการประเมินผลงานเพื่อเลื่อนวิทยฐานะอยู่แล้ว จึงได้เสนอสำนักงานก.พ.ขอเทียบตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ตำแหน่งครูผู้สอน ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด เทียบเท่ากับตำแหน่งข้าราชพลเรือนสามัญ ประเภทวิชาการ ตามหลักเกณฑ์บัญชี 41 เพื่อประโยชน์ในการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ซึ่ง ก.พ. ได้อนุมัติให้เทียบตำแหน่งดังกล่าวได้ เช่น ตำแหน่งครูวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ หรือผู้บริหารสถานศึกษา วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ เทียบได้กับข้าราชการพลเรือนสามัญ ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ เป็นต้น

   นางศิริพร กล่าวอีกว่า ขณะนี้กระทรวงศึกษาฯ ได้เสนอเรื่องไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี แล้ว ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณา ดังนั้น การขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จึงยังไม่สามารถถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์บัญชี 41 เหมือนกับข้าราชการพลเรือนสามัญ ของ ก.พ. ได้ ทำให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่จะเกษียณอายุราชการ ในวันที่ 1 ตุลาคม 2555 ไม่อาจใช้หลักเกณฑ์บัญชี 41 ได้ทัน สำนักงาน ก.ค.ศ. จึงได้มีหนังสือที่ ศธ.๐๒๐๖.๘/๓๗๐ ลงวันที่ 28 กันยายน 2555 แจ้งเวียนไปยังส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบและถือปฏิบัติแล้ว  โดยหากประสงค์จะเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย ป.ม. ให้กับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่จะเกษียณอายุราชการ ในวันที่ 1 ตุลาคม 2555 ขอให้ต้นสังกัดเสนอรายชื่อพร้อมรายละเอียดให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาเสนอสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นกรณีพิเศษต่อไป

ที่มา  : แนวหน้าออนไลน์  09  ตุลาคม  2555


ให้กำลังใจครูบ้านนอกด้วยนะจ๊ะ ... ขอบคุณจ้า




...............................


29 สิงหาคม 2555

ฟาสต์แทร็กเลื่อนวิทยฐานะล่ม ขัดมติก.ค.ศ.ให้ใช้เวลา 2 ปีทำงาน

ฟาสต์แทร็กเลื่อนวิทยฐานะล่ม ขัดมติก.ค.ศ.ให้ใช้เวลา 2 ปีทำงาน



          นางศิริพร กิจเกื้อกูล เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ให้สัมภาษณ์กรณีสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เสนอให้สำนักงาน ก.ค.ศ.พิจารณาปรับแก้กรอบร่างหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูฯ มีและเลื่อนวิทยฐานะด้วยข้อตกลงการปฏิบัติงาน (Performance Agreement) โดยเสนอให้ใช้ฟาสต์แทร็ก (Fast Track) เลื่อนวิทยฐานะ 1 ปี หากผลคะแนนประเมินของคณะกรรมการ 3 คนเป็นเอกฉันท์ และได้คะแนนสูง โดยวิทยฐานะชำนาญการ (ชก.) ได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70, วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ (ชกพ.) คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75, วิทยฐานะเชี่ยวชาญ (ชช.) คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 และวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ (ชชพ.) คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 85 ให้เสนอคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษา หรือ ก.ค.ศ.แล้วแต่กรณี พิจารณาอนุมัติได้ เมื่อสามารถพัฒนางานภายในปีเดียว ว่า คงไม่สามารถใช้ระบบฟาสต์แทร็กให้ข้าราชการครูฯ เลื่อนวิทยฐานะภายใน 1 ปีได้ เพราะตามมติ ก.ค.ศ.กำหนดให้ใช้เวลา 2 ปีการศึกษาในการปฏิบัติงาน
          นางศิริพรกล่าวว่า ที่สำคัญ กรอบร่างหลักเกณฑ์ฯ ที่ผ่านความเห็นชอบจาก ก.ค.ศ.กำหนดให้ดูผลสัมฤทธิ์ที่เกิดกับนักเรียน ไม่ใช่ดูผลคะแนนของผู้ที่ขอทำผลงาน ขณะนี้อยู่ระหว่างให้แต่ละหน่วยงานที่มีสถานศึกษาในสังกัด เช่น สพฐ., สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ที่กำกับดูแลวิทยาลัยชุมชน ไปพิจารณาในรายละเอียดว่าผลสัมฤทธิ์ที่เกิดกับนักเรียนควรดูจากตัวชี้วัดอะไรบ้าง ซึ่งแต่ละหน่วยงานอาจกำหนดไม่เหมือนกัน ขณะนี้ยังไม่ได้รับข้อมูลกลับมาจากหน่วยงานดังกล่าว ทั้งนี้ หลังได้รับแล้ว สำนักงาน ก.ค.ศ.จะนำเสนอ อ.ก.ค.ศ.ระบบที่เกี่ยวข้องพิจารณา ก่อนนำเสนอคณะกรรมการ ก.ค.ศ.พิจารณาเห็นชอบในเดือนกันยายน ส่วนจะนำมาบังคับใช้ได้ทันในปีนี้หรือไม่นั้น เป็นรายละเอียดที่ต้องรอฟังข้อสรุปจาก ก.ค.ศ.ยังไม่สามารถตอบได้
          "กรอบร่างหลักเกณฑ์ฯ ที่ ก.ค.ศ.เห็นชอบ กำหนดให้ใช้เวลา 2 ปีการศึกษาในการปฏิบัติงาน ไม่ใช่ 1 ปี และกำหนดให้มีคณะกรรมการกลั่นกรอง และคณะกรรมการประเมิน ส่วนคณะกรรมการประเมินจะมีกี่ชุดนั้น เป็นเรื่องของรายละเอียดที่ต้องรอการหารือในที่ประชุม ก.ค.ศ. ดิฉันไม่สามารถตอบได้ว่าจะมีกี่ชุด เบื้องต้นบอกได้ว่าคงไม่ใช่อย่างที่ สพฐ.เสนอ" นางศิริพรกล่าว

ที่มา  :  มติชนออนไลน  27  สิงหาคม  2555

ผมมีคำถามครับ
1. ถ้าโรงเรียนที่มีครูน้อย แล้วโดนเรียกไปประชุม อบรม สัมมนา ทำงานส่งเขตฯ ฯลฯ จะเอาเวลาที่ไหนสอนเด็กครับ แล้วคะแนนเด็กจะขึ้นหรือไม่ในเมื่อไม่มีเวลาสอน
2. ถ้าครูทุ่มเทสอนเด็ก แล้วใครจะทำงานวิชาการ การเงิน บุคลากร ธุรการครับ


ให้กำลังใจครูบ้านนอกด้วยนะจ๊ะ ... ขอบคุณจ้า




...............................
วัตถุมงคล อ.หนู กันภัย     สอนพิเศษพิษณุโลก  เรียนพิเศษในพิษณุโลก

10 กุมภาพันธ์ 2554

“ชินวรณ์” เผย พ.ร.บ.เงินเดือนฯ ทำให้อัตราเงินเดือนครูเพิ่มร้อยละ 13

“ชินวรณ์” เผย พ.ร.บ.เงินเดือนฯ ทำให้อัตราเงินเดือนครูเพิ่มร้อยละ 13

“ชินวรณ์” เผย ที่ประชุม กมธ.วิสามัญฯ สั่งเพิ่มรายละเอียดในมาตรา 6 ให้ ขรก.ครูที่ยังมีเงินเดือนไม่ถึงขั้นต่ำตามบัญชีท้าย พ.ร.บ.เงินเดือนฯ ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำชั่วคราว มั่นใจ พ.ร.บ.เงินเดือนฯ จะได้รับพิจารณาทันประชุมผู้แทนราษฎรสมัยนี้แน่นอน ลั่นหากประกาศใช้แล้วส่งผลให้ ขรก.ครูได้รับการปรับเงินเดือนโดยเฉลี่ยร้อยละ 13

วันนี้ (11 ก.พ.) นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.... สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า ที่ประชุม กมธ.วิสามัญฯ ได้พิจารณาร่าง พ.ร.บ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่ง เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา โดยได้ปรับเพิ่มในรายละเอียดมาตรา 6 จากเดิมที่ระบุว่าในระหว่างที่ ก.ค.ศ.ยังมิได้ปรับอัตราเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้สอดคล้องกับอัตราเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่ง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ.กำหนด โดยรัฐมนตรีว่าการ ศธ.ได้มอบหมายให้ ก.ค.ศ.จัดทำคู่มือรายละเอียดของการดำเนินการตามบัญชีที่ได้ศึกษาไว้แล้ว ซึ่งจะได้ขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต่อไป โดยจากมาตรา 6 ดังกล่าว ที่ประชุม กมธ.วิสามัญฯ ได้ปรับเพิ่มว่า กรณีที่ข้าราชการครู ที่ยังได้รับเงินเดือนยังไม่ถึงขั้นต่ำของอันดับตามบัญชีท้าย พ.ร.บ.นี้ ให้ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำชั่วคราว ตามบัญชีท้าย พ.ร.บ.นี้ และให้ได้รับเงินเดือนจนกว่าจะได้รับเงินเดือนขั้นต่ำของอันดับ ตามบัญชีท้าย พ.ร.บ.นี้

รมว.ศธ.กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ตนได้ลงนามถึงประธานสภาผู้แทนราษฎรเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะได้ประสานกับคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล) เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาวาระ 2 และ 3 ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ต่อไป ก่อนจะนำเสนอเข้าสู่ชั้นวุฒิสภา เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว ก็จะได้มีการประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาต่อไป ทั้งนี้ ตนได้ดูปฏิทินการทำงาน มั่นใจว่า ร่าง พ.ร.บ.เงินเดือนฯ จะได้รับการพิจารณาให้แล้วเสร็จทันการประชุมผู้แทนราษฎรสมัยนี้อย่างแน่นอน โดยหากมีการประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จะส่งผลให้เพดานเงินเดือนครูได้รับการปรับเพิ่มร้อยละ 8 และเมื่อรวมกับการปรับขึ้นเงินเดือนของข้าราชการทุกประเภทร้อยละ 5 ตามภาระค่าครองชีพที่สูงขึ้นตามมติของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก็จะทำให้ข้าราชการครูได้รับการปรับเพิ่มเงินเดือนโดยเฉลี่ยร้อยละ 13

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ร่าง พ.ร.บ.เงินเดือนฯ มีมาตราที่มีความสำคัญ 3 มาตรา ได้แก่ มาตรา 3 มาตรา 5 และมาตรา 6 โดยมาตรา 3 ระบุว่า อัตราเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่ง สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และบัญชีอัตราเงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทาง การศึกษาท้ายพระราชบัญญัตินี้ ส่วนมาตรา 5 ระบุว่า ครม.จะพิจารณาปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูง เงินวิทยฐานะ เงินประจำตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นตามความจำเป็นก็ได้ โดยหากเป็นการปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูง เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งเพิ่มไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งที่ใช้บังคับอยู่ ให้กระทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และให้ถือว่าเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูง เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เป็นเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูง เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชบัญญัตินี้ เมื่อมีการปรับเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง การปรับเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับอยู่เดิม เข้าสู่อัตราในบัญชีที่ได้รับการปรับใหม่ ให้เป็นไปหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ.กำหนด ซึ่ง ก.ค.ศ.จะต้องดำเนินการตามมาตรา 6
ให้คะแนนข้อเขียนนี้...คุณจะให้กี่ดาวดีจ๊ะ