โดย : trustnow
ยันต์โสฬสมงคล
เป็นยันต์เลข 3 ชั้น ชั้นนอกลงด้วยเลข 16 ตัว ( โสฬสคำนี้แปลว่า 16 ชั้นฟ้า อันมีอินทร์ , พรหม , ยม ,นาค และพระคณาจารย์โบราณ จะกล่าวพรรณาถึงเมื่อเวลากระทำพิธีบวงสรวง ในการบูชาครูทุก ๆ ครั้ง ) ด้วยสูตรโสฬสรอบกลางลงด้วยเลข 12 ตัว ลงด้วยสูตรตรีนิสิงเห , รอบในลงด้วยเลข 6 ตัว , ลงด้วยสูตรจตุโร แล้วทำการลงอักขระเพื่อล้อมรอบยันต์ทั้ง 4 ด้านด้วยพระคาถาบารมี 30 ทัศน์ ส่วนพระยันต์ไตรสรณาคม ประทับหลัง เมื่อม้วนแล้วยันต์จะอยู่ด้านนอก ล้อมด้วยอิติปิโส ฯลฯ ภควาติ ลงด้วยสูตรรัตนมาลัยเป็นตาม้าหมากรุกโดยรอบ
( พระยันต์นี้แม้แต่สมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ กรุงเทพฯ ผู้เจนจบในพระยันต์ร้อยแปด ทรงพิจารณาแล้วเห็นว่ายันต์โสฬสมงคลเป็นยันต์อันวิเศษสุดกว่ายันต์ทั้งปวง พระองค์ได้นำไปประทับในพระอุโบสถของวัดสุทัศน์ฯ และเขียนสอดใส่ไว้ใต้หมอนหนุนศรีษะตลอดเวลา จนกระทั่งมรณะภาพเมื่อปี พ.ศ. 2487 จึงได้พบแผ่นยันต์นี้ )
เรื่องราวโสฬสมงคลธรรมนั้นเกิดขึ้นเมื่อครั้งท้าวปรนิมมิตวสวัตดีมาร ได้พ่ายแพ้แก่พระพุทธองค์ กระทั่งพิณประจำพระองค์หล่นตกแล้วท้าวสักกะเทวราชนำไปมอบให้ปัญจสิงขรคนธรรพ์เทวบุตรนั้น ตำนานชาวพุทธที่ได้บันทึกเรื่องราวในปฐมสมโพธิกถานั้นได้บันทึกต่อว่าท้าวพระยามาราธิราชได้นั่งขีดแผ่นศิลา (ปถวี) เทียบบารมีระหว่างตนกับพุทธองค์ (พระสิทธัตถะบรมโพธิสัตว์) อยู่ ก็พบว่าอันความรู้ที่พระบรมโพธิสัตว์สิทธัตถะทรงมีมากกว่าฝ่ายตนอยู่ถึง 16 ประการทีเดียวอันเป็นเหตุให้ พระยามาราธิราชและฝ่ายเสนามารพ่ายแพ้อย่างยับเยิน โดยดุษฎีไม่ว่าด้วยเหตุผลปกติ ไร้เหตุผลและเหนือเหตุผลอันปกตินั้นก็ตาม “โสฬสมงคล” อันเป็นความรู้ที่เหนือกว่าวิชาฝ่ายมารในทุกกระบวนที่บันทึกไว้นั้นก็คือทานบารมี , ศีลบารมี , เนกขัมบารมี , ปัญญาบารมี , วิริยะบารมี , ขันติบารมี , สัจจบารมี , อธิษฐานบารมี , อุเบกขาบารมี (คือบารมีสิบตามสิบศูนย์ที่กล่าวข้างต้นที่หลอมรวมเป็นเครื่องหยั่งรู้ “ญาณ” , อินทรียปโรปริยัติญาณ คือความรู้เรื่องธาตุอินทรีย์ ที่มีระดับแตกต่างกันของสัตว์ทั้งหลาย , สยานุสยญาณ ความรู้เรื่องโครงสร้างของกำเลศ ที่ปรากฏในสันดานสัตว์ทั้งหลาย , มหากรุณาสมาบัติญาณ ความรู้การเข้าสมาบัติ โดยอานุภาพมหากรุณาใหญ่ , ยมกปาฏิหาริยญาณ ความรู้ในปาฏิหาริย์แห่งธาตุที่มีสมบัติคู่ตรงกันข้าม , อนาวรณญญาณ ความรู้ในธรรมที่อยู่นอกพ้นกิเลส , สัพพัญญุตญาณ ความรู้ในธรรมทั้งปวงได้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด
หกประการหลังที่เป็นการรวบยอดความรู้อย่างพิเศษ นี้เองคือ “อสาธารณญาณ” เป็นเรื่องเฉพาะ ในองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นไม่ปรากฏในพระสาวกใหญ่ น้อยทั้งหลาย ซึ่งเกิดจากความรู้อย่างถ่องแท้ในบารมีทั้งสิบ ทั้งสินในประการสุดท้ายที่เกิด “สัพพัญญุตาญาณ” นี่เองที่กล่าวมาข้างต้นว่าหากสำเร็จโสฒส คือผู้แจ้งโลก กระบวนความรู้ ในศาสตร์โสฬสได้ถูกนำมาสังเคราะห์ใช้ประโยชน์ในเรื่องราวต่าง ๆ อย่างการถอดสมการของโลกธาตุที่แทนค่าความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งอย่างระบบตัวเลขที่มีความเกี่ยวพันกันจากจำนวนหนึ่งไปสู่จำนวนหนึ่งเป็นสหสัมพันธ์สมุทฐาน แบบวิธีการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสรรพสิ่งด้วยปรัชญา “หนึ่งคือทั้งหมดและทั้งหมดก็คือหนึ่ง” ความสัมพันธ์ของตัวเลข ก็จะเป็นแบบ การผสมผสานของสหธาตุธรรม ดิน-น้ำ-ลม-ไฟ ที่มีความแก่อ่อน ในลักษณะธาตุธรรมที่แตกต่างกันออกไป โดยจะเกิดร่วมกันเสมอ จะขาดธาตุใดมิได้ การกำหนดการคิด สะระตะโสฬส จึงเริ่มจากจำนวนสิบ ที่มีฐานในการวางตัวเลขต่างออกเป็นสี่ เขต (ทวีป) จนเกิดตารางโสฬสที่เป็นการจัดวางตัวเลขในอัตราต่าง ๆ อย่างสมดุลโดยตัวเลข 1-2-3-4 นั้นก็มีอัตราผลรวมเท่ากับ 10 เป็นเลขประธาน (รายละเอียดของการแจกแจงตัวเลข 1-2-3-4 เป็นตารางโสฬส “2 3 4 1 ผู้ใดคิดถึง ลุ ซึ่งโสดา ถ้าคิดมิได้ ให้เอาที่แร้งกับกา หนีที่คว่ำ ให้เอาที่หงาย หนีที่ตายให้เอาที่เป็น ผู้ใดคิด 6 เห็น ได้ทองทุกวัน”ดังนี้จะเห็นว่าเลข 6 นี้ก็เป็นรหัสหรือกุญแจสำคัญตัวหนึ่งในการไขปริศนาโสฬส บางโบราณาจารย์ท่านเรียกว่า คือ “กุญแจทอง” ทั้งนี้ต้องอาศัยหลัก 2-3-4-1 เมื่อรวมกันเท่ากับ 10 และ 1+0 ก็เท่ากับ 1 เหล่านี้คือรหัสเลขกลที่ปัจจุบันมีความรู้ที่เรียกว่า “เลขศาสตร์” ที่มีการนำมาไขปริศนาเหตุการณ์ต่าง ๆ ในปัจจุบันได้ถูกต้องอย่างน่าประหลาดใจสำหรับตัวเลข 6 ที่ว่าเป็นปริศนา ในการไขเรื่องราวต่าง ๆ นั้นก็ มีการตีความปริศนา เลขทั้ง 9 ตัวไว้ เทียบกับจำนวน 6 พออภิปรายเทียบเคียงตาม กฎพระไตรลักษณ์ได้ดังนี้
ทุกขัง คือ 1+2+3=6 อนิจจัง คือ 4+5+6 = 15 คือ 1+5 = 6 อนัตตา คือ 7+8+9 = 24 คือ 2+4 = 6
ซึ่งเอาแค่ 1+2+3+4 = 10 เท่ากับหนึ่งเป็นกลให้นับเวียนไป อย่าทิ้ง 1 ถึง 9
การแจกแจงเลขกลบทดังกล่าวทำให้เกิดความเข้าใจความสัมพันธ์ ของธาตุทั้งมวลที่ปรากฏขึ้นในโลกและอาศัยควรามรู้ในความสัมพันธ์ต่าง ๆ นั้นบริหารธาตุธรรมเหล่านั้นให้เป็นไปตามปรารถนา โดยการหยั่งรู้คำนวณธาตุเหล่านั้นก็จะทราบอดีต (ก่อนมีมาในสถานะที่ปรากฏนั้น) การดำรงอยู่ในปัจจุบัน (สถานะที่ธาตุธรรมนั้นดำรงอยู่หรือการคงสภาวะอยู่) อนาคต (สิ่งที่ธาตุธรรมนั้นกำลังดำเนินวิถีที่ตนเองเปลี่ยนแปลงไปยังสถานะอื่นอีก)
คาถายันต์โสฬส
ป้องกันอุปัทวันตรายทั้งปวง กันฟ้า กันไฟ กันโจรภัย กันภูตผีปิศาจ กันคุณผีคุณคนทุกชนิด
คาถากำกับยันต์โสฬส
โสฬะสะมังคะลัญเจวะ นะวะโลกุตตะระธัมมา
จัตตาโร จะ มะหาทีปา ปัญจะพุทธามะหามุนี
ตรีปิฏะกะธัมมักขันธา ฉะกามาวะจะราตะถา
ปัญจะทะสะภะเวสัจจัง ทะสะมังสีละเมวะจะ
เตระสะธุตังคาจะ ปาฏิหารัญจะทะวาทะสะ
เอกะเมรุ จะ สุราอัฎฐะ ทะเวจันทังสุริยังสัคคา
สัตตะสัมโพชฌังคาเจวะ จุททะสะจักกะวัตติจะ
เอกาทะสะวิษะณุราชา สัพเพเทวาสะมาคะตา
เอเตนะมังคะละเตเชนะ สัพพะโสตถีภะวันตุเม
"อิทธิฤทธิ พุทธะนิมิตตัง ขอเดชะเดชัง ขอเดชเดชะ จงมาเป็นที่พึ่งแก่มะอะอุนี้เถิด"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นครับ