02 มีนาคม 2554

อัด อั้น ตัน ใจ

อนาคตของชาติจะเป็นอย่างไร
เมื่อเด็กไทย ส่ง sms โหวตนักร้องที่ชื่นชอบได้ไวกว่า การหาคำตอบของสมการ "งาน = แรง x ระยะทาง"

ใครวะ ออกกฎห้ามตี ห้ามนักเรียนตกซ้ำชั้น
ถ้าครูไม่มีสามัญสำนึก ก็ปล่อยให้เด้กที่เขียนแค่ชื่อได้อย่างเดียว จบ ม.3 ไป เพราะเบื้องบนสั่งมา
...
ถามจริงๆ คนไทยคิดอย่างไร เลือกคนจบสาขาอะไรมาไม่รู้ มาเป็นคนบริหารการศึกษา

ไม่รู้ว่า บ่นไปจะมีประโยชน์หรือเปล่า
อย่างว่าแหละ ประชาธิปไตย
คนถูกกดขี่ เลือกคนกดขี่ มากดขี่ตัวเอง

แล้วไม่เห็นคุณค่าของการศึกษาเลย อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ใช้มาตั้งแต่ 2542 งบ มิยาซาวะ ขอไปไม่เคยได้ ให้แต่โรงเรียนใหญ่ ที่ราดยางถนน ทำกันทุกปี เที่ยวเมืองนอก ไปกันทุกปี เอาเงินมาลงที่การศึกษาบ้าง

หรืออยากให้เด็กไทยโตไปโง่ จะได้เลือกพวกท่านนานๆ
จะโกง จะกิน จะขายชาติอย่างไร ก็ไม่มีใครคัดค้าน
กลัวว่า เดี๋ยวไม่มีงบมาทำถนน ขุดคลองในหมู่บ้าน
.....ชั่วจริงๆ

บอกจะให้เน้นการศึกษาเด็ก ให้ครูมีเวลาอยู่กับเด็ก แต่จัดให้ครูอบรม ประชุม สัมมนา กันอยู่นั่นแหละ ถ้าอยากจะสอนเด็ก ต้องซื้ออุปกรณ์เอง ขนาดปากกาเขียนกระดาน ยังต้องออกเงินเอง

มาโรงเรียน ไม่ใช่ปุ๊บปั๊บจะสอนได้ ต้องวิเคราัะห์หลักสูตร แล้ววางโครงการสอน จากนั้นกำหนดหน่วยการเรียนรู้ กำหนดตัวชี้วัด แล้วเขียนแผนการสอน แล้วทำแบบทดสอบ ทำเครื่องมือวัดผลต่างๆ เสร็จแล้วต้องทำวิจัย ว่าสอนออกมาแล้วดีไหม

ทุกอย่าง แทบใช้เงินตัวเองหมดเลย แล้วเงินเดือนเริ่มที่ 8600 จะเอาที่ไหนกินวะ นี่ยังไม่รวมซองบวช ซองผ้าป่า ไม่ซื้ออุปกรณ์มาสอนก็ไม่ได้ สงสารเด็ก ลูกเราทั้งนั้น เราอยากให้ลูกเรามีความรู้ ออกไปสู้กับเรื่องต่างๆของสังคมได้ จะได้ไม่โง่ แต่นักการเมือง มันทำอะไรอยู่วะ

ห่วงแต่เสียงคะแนน ห่วงแต่ผลประโยชน์
สร้างภาพ ขึ้นป้ายใหญ่โต ว่า "เป็นผู้สนับสนุนในการขยายถนน" เงินชาวบ้านทั้งนั้น ภาษีทั้งนั้น เอ็งสนับสนุนอะไรวะ ขึ้นเครื่องบินก็ฟรี พวกกรูสิ มีโอกาสได้เห็นเครื่องบินตอนบินผ่านหลังคาโรงเรียน (แล้วก็วิ่งออกไปด...ูกับพวกเด็กๆ +55)

ป.ล. บ่นตอนทำเกรดเด็ก นะจ๊ะ (บน Facebook)

01 มีนาคม 2554

28 กุมภาพันธ์ 2554

เตรียมสอบปลายภาค

ช่วงนี้ นักเรียนก็เตรียมสอบปลายภาค
ส่วนครู ก็รีบดำเนินการสอบ
ตัดเกรด จัดระดับผลการเรียน
สรุปผลงานในปีการศึกษาที่ผ่านมา และที่สำคัญ เตรียมรับมหกรรมอบรม ประชุม สัมมนา ฯลฯ

เหนื่อยๆ สู้ๆ คนเป็นครู สู้ไม่ถอย

27 กุมภาพันธ์ 2554

สติ ควบคุมจิต

"โอ้ การฝึกจิตที่จะเอาจิตเข้าสู่ธรรมได้ตีกิเลสให้ห่างไกลจากตัวไปนี้ เพื่อความอยู่สบายนี้ยากนะ ไม่ใช่เล่น ลำบากมากอยู่ มันดิ้นของมันอยู่นั้นแหละ เป็นอยู่ในร่างกายกิริยามารยาทนุ่มนวลเหมือนคนทั้งหลาย พระทั้งหลายนั่นละ แต่ตัวจิตตัวมันดื้อมันดื้ออยู่ในนั้น

เพราะอย่างนั้นท่านจึงสอนให้มีสติ บังคับจิตให้ดี ถ้าสติดีแล้วจิตก็ไม่ดีดไม่ดิ้น ถ้าสติขาดเมื่อไหร่จิตนี้ดิ้น ให้พากันจำเอานะพระลูกพระหลาน สติเป็นสำคัญ ท่านก็บอกอยู่ตลอดเวลาว่า

สติ สพฺพตฺถ ปตฺถิยา สติจำต้องปรารถนาในที่ทั้งปวง
เผลอสติไม่ได้นะ สติต้องบังคับเจ้าของ ให้ตีกับกิเลสนั่นล่ะดี"

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนhttp://www.luangta.com/thamma/thamma_ta ... 66&CatID=0

26 กุมภาพันธ์ 2554

งัด พ.ร.บ.ระเบียบครู 46 เอาผิดครูแอบกวดวิชา

งัด พ.ร.บ.ระเบียบครู 46 เอาผิดครูแอบกวดวิชา

นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยถึงผลการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.)ครั้งที่ 2/2554 เมื่อเร็วๆ นี้ว่า ที่ประชุมได้รับทราบแนวทางควบคุมโรงเรียนกวดวิชาไม่ให้มีการดำเนินการใน ลักษณะแสวงหากำไรจนเกินควร ซึ่งเห็นว่าโรงเรียนกวดวิชาที่ตั้งขึ้นก่อน พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 ให้เก็บค่าธรรมเนียมการเรียน ตามที่ได้รับอนุญาต หากมีการเปลี่ยนแปลงให้ยื่นขออนุญาต โดยจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับกิจการของโรงเรียนนอกระบบและกำหนดหลักเกณฑ์การ คิดค่าธรรมเนียมการศึกษาซึ่งให้กำหนดได้ไม่เกินร้อยละ 20 ส่วนโรงเรียนกวดวิชา ที่ตั้งตาม พ.ร.บ. โรงเรียนเอกชนพ.ศ.2550ในการอนุญาตหลักเกณฑ์การคิดค่าธรรมเนียมการศึกษา ให้กำหนดอัตราค่าตอบแทนได้ไม่เกินร้อยละ20ส่วนการเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษา ในโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้ครูจะเก็บในอัตราที่สูงกว่าการเรียน การสอนโดยใช้สื่อผสม หากใช้สื่อเป็นเครื่องมือการสอนให้เก็บในราคาต่ำสุด ซึ่งโรงเรียนนอกระบบทุกขนาดทุกประเภท จะต้องเสนอรายงานแสดงกิจการงบประมาณการเงินต่อผู้อนุญาตเป็นประจำทุกปี และให้ติดประกาศใบอนุญาตการเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษา/หลักเกณฑ์การกำหนดค่า ธรรม เนียมการศึกษา เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ นอกจากนี้สช.จะต้องตรวจติดตามการดำเนินกิจการของโรงเรียนกวดวิชาให้เป็นไป ตามระเบียบกฎหมายของทางราชการอย่างเคร่งครัด

ขณะเดียวกัน ก็ให้ สพฐ.และคุรุสภาตรวจสอบและดูแลครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาของรัฐให้ปฏิบัติหน้าที่ในการจัดการเรียน การสอนในชั้นเรียนให้เต็มตามหลักสูตร เพื่อนักเรียนจะได้ไม่ต้องไปเรียนเพิ่มเติมในโรงเรียนกวดวิชา หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือว่ามีความผิดทางวินัยตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 และผิดจรรยาบรรณ ตาม พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546

ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามรัฐ

25 กุมภาพันธ์ 2554

กรณีตัวอย่างการพิจารณาประสบการณ์ เพื่อขอมีวิทยฐานะครูชำนาญการ (2)

กรณีตัวอย่างการพิจารณาประสบการณ์ เพื่อขอมีวิทยฐานะครูชำนาญการ (2)

คอลัมน์: สถานี ก.ค.ศ. : โดย ศิริพร กิจเกื้อกูล เลขาธิการ ก.ค.ศ.

สัปดาห์ที่ผ่านมาได้นำเสนอการพิจารณานำ ประสบการณ์การดำรงตำแหน่งพนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีประสบการณ์การสอนมานับรวมกับตำแหน่งครูเพื่อเป็นคุณสมบัติด้าน ประสบการณ์ในการขอมีวิทยฐานะครูชำนาญการไปแล้ว

สัปดาห์นี้จะนำเสนอกรณีไม่มีประสบการณ์ในการสอน แต่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ซึ่ง ก.ค.ศ.ให้คำจำกัดความว่า ต้องเป็นการปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา เช่น การจัดทำแผนการเรียนรู้ การประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน หรือช่วยปฏิบัติงานด้านการบริหารและจัดการสถานศึกษาเป็นต้น โดยกำหนดว่าหากมีประสบการณ์ตามที่กำหนดให้นับเวลาการดำรงตำแหน่งก่อนโอนได้ 1 ใน 4 หากไม่มีประสบการณ์ก็ไม่สามารถนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งก่อนโอนมานับรวมกับ การดำรงตำแหน่งครูได้ ซึ่งมีกรณีตัวอย่างดังต่อไปนี้

กรณีที่ 1 ผู้ขอเคยเป็นข้าราชการทหาร ไม่มีประสบการณ์การสอนแต่ได้ปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา และดำรงตำแหน่งครูไม่น้อยกว่า 2 ปี

ตัวอย่างจ่าสิบเอก ส วุฒิปริญญาตรี เคยเป็นข้าราชการทหารมาแล้วเป็นเวลา 16 ปี ก่อนโอนมียศจ่าสิบเอก มีประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและได้โอนมาดำรง ตำแหน่งครูสังกัด สพฐ.ไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยทำการสอนในระดับประถมศึกษาให้นำระยะเวลาการดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาก่อนโอนมานับได้ 1 ใน 4 คือ 4 ปี มานับรวมกับการดำรงตำแหน่งครู2 ปี จะนับรวมได้ 6 ปี ซึ่งไม่น้อยกว่า 6 ปีสำหรับผู้มีวุฒิปริญญาตรีและสามารถขอมีวิทยฐานะครูชำนาญการได้

กรณีที่ 2 ผู้ขอเคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ และโอนหรือย้ายมาบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครู ไม่น้อยกว่า 2 ปี

ตัวอย่างนางสาว ร วุฒิปริญญาตรี เคยดำรงตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการ ระดับชำนาญงาน (รับเงินเดือนระดับ 5 หรือ 6 เดิม) สังกัดกรมสรรพากร เป็นเวลา 12 ปี มีประสบการณ์และได้โอนมาดำรงตำแหน่งครูสังกัด สพฐ.มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยทำการสอนในระดับประถมศึกษา ให้นำระยะเวลาการดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาก่อน โอนมานับได้ 1 ใน 4 คือ 3 ปี มานับรวมกับการดำรงตำแหน่งครู 2 ปี จะนับรวมได้ 5 ปี ซึ่งน้อยกว่า 6 ปี สำหรับผู้มีวุฒิปริญญาตรี จึงไม่สามารถขอมีวิทยฐานะครูชำนาญการได้

ได้นำเสนอกรณีตัวอย่างติดต่อกันมา 2 สัปดาห์ ซึ่งเป็นกรณีที่แตกต่างกัน 4 กรณี หวังว่าข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้เกี่ยวข้องจะได้รับความรู้ความเข้าใจกันมากยิ่งขึ้นสำหรับการพิจารณา ประสบการณ์ในการขอมีวิทยฐานะครูชำนาญการ หากท่านใดต้องการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมสามารถศึกษาได้จากเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.ค.ศ.ที่ www.moe.go.th/wtcs



ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน

23 กุมภาพันธ์ 2554

ตรวจสุขภาพประจำปี

วันนี้ มีการตรวจสุขภาพประจำปี
เมื่อวานเลยต้องงดน้ำและอาหารตั้งแต่ 2 ทุ่ม

ตอนไปโรงเรียนคิดเลยว่า ถ้าหมอมาช้า คงมีอารมณ์โมโหหิวแน่ๆ เพราะปกติกินข้าวแต่เช้า แถมยังกินน้ำบ่อย เมื่อวานนี้กลัวว่าจะกินน้ำเยอะ เลยนอนแต่หัวค่ำ ปรากฎว่า หมอไปรอแล้ว

ความดันปกติ
การเต้นของหัวใจปกติ
....เหลือแต่ x-ray ปอดอย่างเดียว กิ้วๆ

21 กุมภาพันธ์ 2554

เตรียมสอบ nt ได้แล้วจ้า

ตอนนี้ มหกรรมการทดสอบระดับชาติ กำลังจะดำเนินต่อไป

คราวนี้ เป็นระดับรองลงมาจาก ป.6 ม.3



สู้ๆครับครูไทย

เหนื่อยก็ต้องทน

เพราะหน้าที่ของเรา กำอนาคตของชาติอยู่



ตอนนี้โรงเรียนก็จะสอบปลายภาคแล้ว โอย เหนื่อยจัง
ให้คะแนนข้อเขียนนี้...คุณจะให้กี่ดาวดีจ๊ะ