วันนี้ขี่รถมอเตอร์ไซต์ไปรับงาน
อย่างมาแหละครับ มันก็เรื่องของเงินๆๆๆๆ ใครบ้างละ ไม่อยากได้เงิน
เมื่อมีเงิน ก็มีข้อสงสัย ไม่เข้าใจมาตั้งนานว่า ดอกเบี้ยเงินฝาก ที่เกี่ยวกับการฝากประจำเป็นอย่างไร เลยลองค้นมาดู
เมื่อคนหามาแล้ว ก็นำมาไว้ในที่นี้เลยนะครับ
บัญชีเงินฝาก
ธนาคารแทบทุกแห่งต่างก็จะมีลักษณะของบัญชีเงินฝากที่เหมือนๆกัน เพียงแต่อาจจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไปแค่นั้นเอง
บัญชีเงินฝาก
บัญชีปลอดภาษี เหมาะสำหรับการออมที่สุด
บัญชีออมทรัพย์บางธนาคารก็จะเรียกว่าบัญชีสะสมทรัพย์สมัยเด็กๆหากท่านมีบัญชีกับธนาคารออมสินท่านอาจจะคุ้นเคยกับคำว่า เผื่อเรียกเสียมากกว่า คิดว่าทุกท่านก็คงจะมีบัญชีประเภทนี้อย่างน้อย 1 บัญชีอยู่แล้ว และทราบดีว่าบัญชีนี้ทำงานอย่างไร
เมื่อคุณเปิดบัญชีก็จะมีสมุดคู่ฝากโดยใช้บัตรประชาชนเพียงอย่างเดียว ท่านจะฝากจะถอนเมื่อไหร่ก็ได้ไม่จำกัดวงเงิน ตราบเท่าที่บัญชียังมีเงินอยู่ การฝากและถอนเงินอาศัยลายเซ็นเป็นสำคัญ แต่เพื่อความปลอดภัยอาจจะมีการขอดูบัตรประชาชนเวลาถอน เงินของท่านที่มีอยู่ในบัญชีจะได้รับดอกเบี้ยตามอัตราที่ธนาคารกำหนด ซึ่งการคำนวนดอกเบี้ยจะคำนวนรายวันแล้วทบต้นให้ทุกๆ 6 เดือนท่านไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมอะไรเลยยกเว้นว่าท่านจะมีบัตร ATM
แทบทุกธนาคารก็จะเสนอให้คุณมีบัตร ATM เพราะคุณก็จะสะดวกเวลาถอนเงินธนาคารก็ไม่ต้องจ้างแคชเชียร์เพิ่ม
ตามมาตรฐานคุณจะถอนผ่านบัตร ATM ได้ไม่เกิน 20,000 บาทต่อวัน บางธนาคารอาจให้มากกว่านั้นหรือคุณจะไปยื่นเรื่องขอเองก็ได้ ยอดการถอนนี้ไม่เกี่ยวกับยอดการถอนจาก counter ปกติธนาคารจะคิดค่าธรรมเนียมค่าใช้บัตร 100 บาทต่อปี เวลาคุณเช็คยอดคงเหลือผ่านเครื่อง ATM ก็จะเห็นว่าถอนได้น้อยไปจากเงินที่มีอยู่ 100 บาทเสมอ เดี๋ยวนี้ธนาคารบางแห่งจะหันมาคิดค่าธรรมเนียมขูดรีดกับประชาชน โดยหากคุณมีเงินต่ำกว่า 500 บาท หรือขาดการติดต่อกับธนาคารเกิน 1 ปี เค้าจะหักเงินคุณเดือนละ 50 บาทบ้าง 100 บ้าง พอเงินหมดก็จะได้ปิดบัญชีไป เพราะฉะนั้นว่างๆก็ไปฝากซะบ้าง สองสามร้อยก็ยังดี หรือไม่ก็ปิดไปเลย
เดี๋ยวนี้หลายธนาคารเริ่มหันมาประชาสัมพันธ์บัญชีออมทรัพย์ที่ไม่มีสมุดคู่ฝากมากขึ้น โดยผู้ฝากจะไม่มีสมุดคู่ฝากแต่จะได้รับ statement ทุกๆสิ้นเดือนแทน เหมือนธนาคารในต่างประเทศ
...บัญชีฝากประจำ
ชื่อบัญชีอาจฟังดูสับสนนิดๆ บัญชีนี้ไม่ใช่ว่าท่านจะต้องฝากเป็นประจำ แต่จะหมายถึงว่าคุณฝากแล้วต้องประจำที่ห้ามถอนระหว่างนั้น ทุกธนาคารก็จะให้บริการฝากประจำ 3,6,12,24 เดือน อัตราดอกเบี้ยอาจจะแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับว่าธนาคารต้องการระดมเงินมากแค่ไหน โดยทั่วไปทุกธนาคารจะฮั้วกันเพราะถ้าที่ไหนอัตรดอกเบี้ยสูงคนก็จะเฮโลกันไปฝากทำให้ธนาคารมีต้นทุนสูงขึ้น
การฝากประจำ 3 เดือนหมายความว่าเมื่อท่านฝากแล้วระหว่างนั้นท่านไม่ควรถอน เพราะหากไม่ครบกำหนดธนาคารก็จะไม่จ่ายดอกเบี้ยให้แม้แต่นิดเดียว แต่ถ้าคุณฝากประจำประเภท 6 เดือนขึ้นไปหากถอนหลังจากผ่านไป 3 เดือนธนาคารจะคิดดอกเบี้ยอัตราออมทรัพย์ให้ เพียงแต่ถ้าน้อยกว่า 3 เดือนก็ไม่คิดให้เช่นกัน บัญชีประเภทนี้ ธนาคารไม่คิดค่าธรรมเนียมไดๆ ทั้งสิ้น
การฝากเงินในแต่ละครั้งธนาคารจะมีหมายเลขประจำงวดให้ และการนับเวลา 3 เดือน (หรือ 6,12,24) จะนับตามวันที่ในปฏิทินไม่ใช่นับจำนวนวันที่ฝาก เช่นคุณฝากเงินวันที่ 25 มกราคม วันครบกำหนด 3 เดือนคือ 25 เมษายน ครบ 6 เดือนวันที่ 25 กรกฏาคม เป็นต้น การคำนวนดอกเบี้ยก็ นำเอาอัตราที่ประกาศหารด้วย 12 แล้วคูณจำนวนเดือน เช่นคุณฝากเงิน 30,000 ประจำ 3 เดือน ที่อัตรา 2-2.25 % ต่อปี เมื่อครบกำหนด คุณจะได้ดอกเบี้ย 168.75 บาท หักภาษี 15 % เหลือสุทธิ 143.44 บาท หากคุณไม่ถอนในวันครบกำหนด ดอกเบี้ยก็จะถูกรวมเข้ากับเงินต้นแล้วฝากประจำงวดต่อไปทันที ตามอัตราดอกเบี้ยใหม่ (ซึ่งอาจจะต่ำกว่าสูงกว่าหรือเท่าเดิมก็ได้) หมายเลขประจำงวดก็จะยังเหมือนเดิม
ข้อแนะนำในการฝากประจำก็คือควรดูแนวโน้มดอกเบี้ยว่าจะเป็นอย่างไร หากแนวโน้มดอกเบี้ยจะลดลงคุณก็ฝากประจำประเภทที่ยาวขึ้น เพราะถึงดอกเบี้ยจะลดลงในวันถัดมา อัตราที่ธนาคารจะจ่ายให้คุณเมื่อครบกำหนดก็จะยังคงเดิม ถ้าแนวโน้มดอกเบี้ยจะสูงขึ้นคุณก็ควรฝากระยะ 3 เดือน เงินคุณก็จะได้เปลี่ยนไปรับดอกเบี้ยที่สูงกว่าได้เร็วขึ้น
หากคุณคิดว่าอาจจะมีความจำเป็นทางการเงินอีก 2 - 3 เดือนข้างหน้าแต่อยากฝากประจำเพราะได้ดอกเบี้ยสูงกว่า (แต่ช่วงนี้ฝากออมทรัพย์ดีกว่า หักภาษีแล้วต่างกันไม่มาก) แทนที่คุณจะฝากทั้งก้อนเช่น 30,000 บาท ถ้าจำเป็นต้องใช้เงิน 5000 บาท ก็ต้องถอนทั้งก้อน ดอกเบี้ยก็ไม่ได้เลย คุณควรหันมาฝากทีละงวด เช่น ต้นเดือนมกราคม ฝาก 10,000 บาท ที่เหลืออยู่ในบัญชีออมทรัพย์ ต้นเดือนกุมภาพันธ์ฝากอีก 10,000 บาท และต้นเดือนมีนาคม ฝากอีก 10,000 บาท พอต้นเดือนเมษายน เงินงวดแรกครบกำหนดหากไม่จำเป็นต้องใช้ก็ปล่อยให้ดอกเบี้ยทบต้นฝากต่อไป คุณก็จะพบว่าทุกๆ ต้นเดือนก็จะถอนเงินได้ 10,000 บาทหากจำเป็น ถ้าต้องการมากกว่านั้น คุณก็ย้อนไปถอนงวดที่เพิ่งฝากไปเรื่อยๆ แต่วิธีนี้อาจจะไม่เหมาะกรณีดอกเบี้ยอยู่ในขาลง
บัญชีปลอดภาษี
หากคุณต้องการออมเงินระยะยาวตั้งแต่ 24 เดือนขึ้นไป อาจจะหันมาฝากบัญชีประเภทนี้แทนเพราะจะได้รับการยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก และอัตราดอกเบี้ยจะสูงกว่าบัญชีฝากประจำ 0.25 ? 0.75 % ต่อปี ส่วนข้อเสียก็คือคุณต้องฝากทุกงวด ๆ ละเท่าๆ กัน และขาดได้ไม่เกินที่ธนาคารกำหนด (เช่นไม่เกิน 2 เดือน หรือ 6 เดือนแล้วแต่ประเภทบัญชี) ข้อกำหนดทั่วไป จะมีดังนี้ บัญชีที่สามารถยกเว้นภาษีได้แก่ เพื่อการศึกษา เคหะ เพิ่มทรัพย์ วิวาห์ ชีวิต (ตัวอย่างของ ธ. ไทยพาณิชย์) จำนวนเงินฝากในแต่ละงวดไม่เกิน 25,000 เมื่อครบกำหนดเงินต้นต้องไม่เกิน 600,000 บาท ขาดฝากไม่เกิน 2 งวด ต้องฝากให้ครบกำหนดของแต่ละประเภทบัญชีที่ธนาคารกำหนด มีสิทธิขอยกเว้นภาษีได้ 1 คนต่อ 1 บัญชีเท่านั้น ต้องแจ้งหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีในวันที่เปิด (ป้องกันบัญชีซ้ำซ้อน) อย่างไรก็ตามแต่ละธนาคารอาจจะมีข้อกำหนดจำนวนเงินฝากขั้นต่ำ (500 หรือ 1000 บาท) การผิดนัดฝากเงิน และอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกันออกไป แต่โดยหลักการแล้วคุณต้องฝากสม่ำเสมอจนกว่าจะครบกำหนด
ดอกเบี้ยที่ได้จะถูกนำมาทบต้นปีละ 2 ครั้งเหมือนบัญชีอื่นๆ ซึ่งบัญชีประเภทนี้เหมาะมากสำหรับคนที่อยู่ในระยะเริ่มแรกของการออม (หลังจากสะสมเงินฉุกเฉินไว้แล้ว) เช่นออมเงินไว้ดาวน์บ้าน ซื้อรถ เพื่อการศึกษา เป็นต้น
ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นรายละเอียดของการฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์ในบ้านเรา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นครับ