27 กรกฎาคม 2555

วันภาษาไทยแห่งชาติ

   ด้วยวันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ ซึ่งภาษาเป็นเอกลักษณ์และเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นชาติที่มีเอกราช และมีวัฒนธรรมของตนเอง โรงเรียนวัดยางแขวนอู่ จึงได้จัดกิจกรรมวันภาษาไทยขึ้น









ให้กำลังครูบ้านนอกด้วยนะจ๊ะ ... ขอบคุณจ้า




...............................
วัตถุมงคล อ.หนู กันภัย     สอนพิเศษพิษณุโลก  เรียนพิเศษในพิษณุโลก

26 กรกฎาคม 2555

งานวิจัยเกี่ยวกับการนอนกลางวัน


บทความจากนิตยสารผู้จัดการ (กันยายน2545)

     ครั้งที่แล้ว ผมเล่าเรื่องการนอนกับความจำให้คุณผู้อ่านได้ทราบกันว่า การนอนนอกจากจะจำเป็นต่อชีวิตมนุษย์แล้ว การนอนยังมีผลต่อการเรียนรู้และการเกิดขึ้นของความจำ นั่นคือ การนอนตามปกติ จะมีการนอนแบบ rem และ nonrem sleep ซึ่งการนอนแบบ rem sleep มีความสำคัญต่อความจำ เพื่อว่าสิ่งที่ถูกเรียนรู้ในช่วงกลางวันจะถูกบันทึกและเรียบเรียง กลายเป็นความจำอย่างมีระเบียบแบบแผนในเวลาที่เรานอน
     แต่นั่นเป็นเรื่องของการนอนตามปกติ แต่มีสิ่งหนึ่งที่เราไม่ค่อยได้พูดถึงเกี่ยวกับการนอนคือ การนอนในเวลากลางวันจำเป็นหรือไม่ และมีผลดีอย่างไร ต่อมนุษย์เรา
โดยทั่วไปทุกคนคงตอบได้ดีว่า ไม่มีบริษัทหรือห้างร้านใดที่มีกฎระเบียบให้ พนักงานพักผ่อนโดยการนอนในช่วงระหว่างเวลาทำงาน การนอนกลางวันในที่ทำงานดูจะกลายเป็น เรื่องต้องห้ามและไม่เหมาะสมทั้งๆ ที่ หากถามพนักงานทั้งหลายในที่ทำงานว่า เคยมีใครงีบตอนกลางวันหรือไม่ ผมเชื่อว่าทุกคนต้องเคยตอบว่าเคย ไม่ว่าจะเป็นเด็กนักเรียน หรือนักศึกษาในห้องเรียน อาจารย์หรือผู้บริหารในห้องส่วนตัว หรือพนักงานทั่วไปที่ฟุบหลับที่โต๊ะทำงาน แต่หากให้นอนเป็นประจำ หรือนอนเป็นเรื่อง เป็นราวคงเป็นเรื่องที่ไม่มีใครยอมรับนัก แต่ทุกคนมักจะยอมรับว่าหากได้งีบสักพักหนึ่ง การทำงานจะดีขึ้นมาก
มีการทดลองชิ้นหนึ่งตีพิมพ์ในวารสาร nature neuroscience เมื่อไม่นานนี้ เป็นการทดลองของกลุ่มนักวิจัยจากฮาร์วาร์ดเพื่อหาคำตอบว่า การนอน กลางวันจะมีผลกระทบอย่างไรกับความสามารถในการเรียนรู้และทำงานของคนเรา

     นักวิจัยกลุ่มนี้เริ่มการทดลองในอาสาสมัคร 30 คน โดยใน 30 คนนี้จะต้องมาทำการทดสอบหน้าจอคอมพิวเตอร์วันละ 4 ครั้งคือเวลา 9 โมงเช้า เที่ยง 4 โมงเย็น และหนึ่งทุ่ม โดยกลุ่มแรกให้ทำ การทดสอบทั้ง 4 ช่วงเวลาโดยไม่มีการงีบกลางวัน กลุ่มที่สองให้งีบได้ช่วงบ่ายสองโมงเป็นเวลา 30 นาที และกลุ่มที่สามงีบได้หนึ่งชั่วโมง

     ผลการศึกษาที่ได้นั้นพอจะตอบคำถามที่ตั้งไว้ในตอนแรก นั่นคือ ในกลุ่มแรกนั้นพบว่าความสามารถในการทดสอบจะลดลงไปเรื่อยๆ โดยในช่วงเช้าจะทำคะแนนได้สูงสุด ส่วนช่วงหนึ่งทุ่มจะได้ ต่ำสุด และที่สำคัญคือความสามารถในการทดสอบ ลดลงไปถึง 50% เมื่อเทียบกับช่วงเช้า
ในกลุ่มที่สองนั้นพบว่าความสามารถในการทำการทดสอบไม่ได้ลดลง คะแนนในช่วงเช้าและบ่ายไม่แตกต่างกัน (ในทางสถิติ) ส่วนกลุ่มที่สามที่มีโอกาสงีบนานหนึ่งชั่วโมงนั้นพบว่า คะแนนในการทดสอบดีกว่า

     เพื่อทดสอบว่าคะแนนที่ออกมาดีนั้นอาจจะไม่ใช่จากการได้นอนพัก แต่อาจเป็นเพียงเพราะการได้พัก นักวิจัยจึงให้อาสาสมัครอีกกลุ่มหนึ่งได้พักช่วงสั้นๆ แล้วมาทดสอบดู ผลคือคะแนนยังคงลดลงในช่วงบ่ายและค่ำ


     นั่นหมายความว่าแค่การพักเพียงอย่างเดียวยังไม่พอที่จะเพิ่มประสิทธิภาพเท่ากับการนอน
หรือเป็นไปได้ไหมว่าที่คะแนนการทดสอบลดลงเป็นเพราะอาสาสมัครขาดแรงจูงใจที่จะทำ การทดสอบในช่วงบ่าย เพื่อตอบคำถามนี้ นักวิจัยจึง บอกกับอาสาสมัครกลุ่มที่ไม่ได้นอนพัก ซึ่งคะแนนในการทดสอบลงว่า เขาทำได้ไม่ดีเท่าครั้งแรก แต่หากในครั้งต่อไปถ้าเขาทำได้ดีเท่ากับช่วงเช้าเขาจะได้รับเงินรางวัล ทีมนักวิจัยกล่าวว่าหลังจากที่อาสาสมัครได้รับข้อเสนอนี้แต่ละคนตาโตด้วยความสนใจ
แต่ผลที่ออกมาคือ แม้จะมีการเสนอเงินรางวัลให้ แต่ในกลุ่มที่ไม่ได้นอนกลางวันก็ยังคงทำคะแนนการทดสอบออกมาต่ำกว่าการทดสอบในช่วงเช้า

     ทั้งหมดนี้อาจจะพอให้คำตอบกับเราว่า การนอนพักช่วงกลางวันนั้น เป็นประโยชน์ต่อประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่าที่เราคิดหรือเคยเข้าใจกันผิดๆ
อาจจะมีคำถามตามมาอีกว่า ทำไมเราจึงควรจะนอนกลางวัน หรือทำไมการนอนกลางวันจึงทำให้ประสิทธิภาพในด้านต่างๆ ดีขึ้น ทั้งที่การนอน เพียงแค่หนึ่งชั่วโมงนั้น rem sleep ยังไม่ทันจะเกิดขึ้นด้วยซ้ำ

     คำตอบในเรื่องนี้คงเป็นแค่สมมติฐานว่า มนุษย์เองก็เหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ คือถิ่นกำเนิดพื้นฐานของคนเราอยู่ในบริเวณอากาศร้อน ซึ่งการปรับตัวแต่ดั้งเดิมนั้นสำหรับสัตว์เลือดอุ่น (ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตร้อน) คือการเลี่ยงที่จะหากินในช่วงกลางวันที่อากาศร้อน โดย การนอนพักอยู่ในที่ร่ม นั่นคือสัตว์เลือดอุ่นมักจะออกหากินในช่วงเช้าหรือเย็น

     หากสมมติฐานนี้เป็นจริงและอธิบายผลที่ออกมา ถึงความสามารถในการทำงานที่เพิ่มขึ้นหลังจากได้นอนพัก หรืองีบในช่วงกลางวัน สิ่งนี้ก็อาจจะพอเป็นเหตุผลที่บรรดาพนักงานทั้งหลายเรียกร้องให้หัวหน้า หรือนายจ้างเข้าใจว่า การนอนพักในช่วงกลางวันไม่ใช่เรื่องเสียหาย และควรสนับสนุน อย่างน้อยก็อาจจะขอเก้าอี้หรือโซฟาสำหรับเอนพักผ่อนในช่วงกลางวัน

   
นำมาจาก http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=3715

ให้กำลังครูบ้านนอกด้วยนะจ๊ะ ... ขอบคุณจ้า




...............................
วัตถุมงคล อ.หนู กันภัย     สอนพิเศษพิษณุโลก  เรียนพิเศษในพิษณุโลก

04 กรกฎาคม 2555

แนวทางการดำเนินงานตามนโยบายการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาล จนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2555


   แนวทางการดำเนินงานตามนโยบายการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาล จนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2555

   การสรุปเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานตามนโยบายการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาล จนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2555


รัฐสนับสนุนค่าใช้จ่ายในรายการพื้นฐาน จำนวน 5 รายการ ดังนี้
   1.ค่าจัดการเรียนการสอน
     1.1 เงินอุดหนุนรายหัว
     1.2 ปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน
     1.3 อาหารนักเรียนพักนอน
   2. ค่าหนังสือเรียน
   3. ค่าอุปกรณ์การเรียน
   4. ค่าเครื่องแบบนักเรียน
   5. ค่ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
     5.1 กิจกรรมวิชาการ
     5.2 กิจกรรมคุณธรรม/ลูกเสือ/เนตรนารี/ยุวกาชาด
     5.3 ทัศนศึกษา
     5.4 การบริการสารสนเทศ ICT

1. ค่าจัดการเรียนการสอน
     1.1 เงินอุดหนุนรายหัว

   ระดับก่อนประถมศึกษา
   รายหัวโรงเรียนปกติ 1,700 บาท/คน/ปี
   รายหัวจัดโดยครอบครัว 7,192 บาท/คน/ปี

   ระดับประถมศึกษา
   รายหัวโรงเรียนปกติ 1,900 บาท/คน/ปี
   ปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน(40%) 1,000 บาท/คน/ปี
   ค่าอาหารนักเรียนพักนอน 5,300 บาท/คน/ปี
   รายหัวจัดโดยครอบครัว 7,362 บาท/คน/ปี

     ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
   รายหัวโรงเรียนปกติ 3,500 บาท/คน/ปี
   ปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน(30%) 3,000 บาท/คน/ปี
   รายหัวจัดโดยครอบครัว 10,276 บาท/คน/ปี

     ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
   รายหัวโรงเรียนปกติ 3,800 บาท/คน/ปี
   รายหัวจัดโดยครอบครัว 10,606 บาท/คน/ปี
   ปวช 1-3 (จัดโดยสถานประกอบการ)
   รายหัว 11,736บาท/คน/ปี

**มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2552 อนุมัติให้เงินรายหัวเพิ่มเติมในกรณีโรงเรียนขนาดเล็ก ตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 เป็นต้นมา ดังนี้
   1. โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กที่มีนักเรียน 120 คนลงมา เพิ่มอีก 500 บาท/คน/ปี
   2. โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กที่มีนักเรียน 300 คนลงมา เพิ่มอีก 1,000 บาท/คน/ปี

    สำหรับโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
    ระดับก่อนประถมศึกษาและระดับประถมศึกษา
   นักเรียนประจำหัวละ 19,900 บาท/คน/ปี
   นักเรียนไปกลับหัวละ 6,120 บาท/คน/ปี

   ระดับมัธยมศึกษา
   นักเรียนประจำหัวละ 19,700 บาท/คน/ปี
   นักเรียนไปกลับหัวละ 5,500 บาท/คน/ปี

   สำหรับโรงเรียนการศึกษาพิเศษ
ระดับก่อนประถมศึกษาและระดับประถมศึกษา
นักเรียนประจำหัวละ 20,320 บาท/คน/ปี
นักเรียนไปกลับหัวละ 6,120 บาท/คน/ปี
ระดับมัธยมศึกษา
นักเรียนประจำหัวละ 20,100 บาท/คน/ปี
นักเรียนไปกลับหัวละ 5,900 บาท/คน/ปี

เงินรายหัว แนวทางการใช้งบประมาณ
   1. จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี นำเสนอคณะกรรมการ
   2. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ความเห็นชอบ
   3. ดำเนินการดำเนินแผนปฏิบัติการ
   4. สรุปรายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการสถานศึกษาฯ สาธารณะชนทราบ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันที่ http://www.facebook.com/atphitsanulok นะครับ

การใช้งบประมาณ สามารถใช้ได้ใน 3 ลักษณะ งบรายจ่ายดังนี้
   1. งบบุคลากร ค่าจ้างชั่วคราว ครูอัตราจ้าง
   2. งบดำเนินงาน
     2.1 ค่าตอบแทน ค่าตอบแทนวิทยากรภายนอก
     2.2 ค่าใช้สอย เบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ ค่าจ้างซ่อมแซม เหมาบริการ
     2.3 ค่าวัสดุ
   3. งบลงทุน
     3.1 ค่าครุภัณฑ์
     3.2 ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
   1.2 ปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน
   นักเรียนยากจน หมายถึง นักเรียนที่ผู้ปกครองมีรายได้ต่อครัวเรือนไม่เกิน 40,000 บาท/ปี

ลักษณะการใช้งบประมาณ
   ให้ใช้ในลักษณะแบบถัวจ่าย ค่าหนังสือและอุปกรณ์นักเรียน ค่าเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย ค่าอาหารกลางวันและค่าพาหนะในการเดินทาง

การใช้จ่ายงบประมาณ ใช้ได้ใน 4 ลักษณะ ดังนี้
   1. ค่าหนังสือและอุปกรณ์การเรียนจัดซื้อแจกจ่ายให้แก่นักเรียนหรือยืมใช้
   2. ค่าเสื้อผ้าและวัสดุเครื่องแต่งกาย
   3. ค่าอาหารกลางวัน
   4. ค่าพาหนะในการเดินทาง

   1.3 อาหารนักเรียนพักนอน จัดสรรให้กับนักเรียนที่มีถิ่นที่อยู่ไม่สะดวก ห่างไกล กันดาร ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเดินทางไป-กลับระหว่างถิ่นที่อยู่กับโรงเรียน โดยจัดสรรให้กับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หัวละ 5,300 บาท ยกเว้น
1) โรงเรียนในสถานศึกษาทั่วไปแบบประจำเช่น
- โรงเรียน ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัย
- โรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย
- โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน
2) โรงเรียนการศึกษาพิเศษ
3) โรงเรียนจัดหอพักและเรียกเก็บเงิน

2.ค่าหนังสือเรียน
1. ระดับก่อนประถมศึกษา ใช้หนังสือเสริมประสบการณ์ สำหรับเด็กปฐมวัยที่สอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย พ.ศ.2546
2. ระดับประถมศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 โดยจำแนกดังนี้
2.1 หนังสือเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
2.2 แบบฝึกหัด เฉพาะ 3 กลุ่มสาระ(ภาษาไทย คณิตศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ))

มูลค่าหนังสือเรียนต่อชุด (มีหนังสือเรียนครบทุกคน โดยไม่เรียกเก็บคืน)
ระดับชั้น มูลค่าหนังสือ
อนุบาล 200 บาท/คน/ปี
ป.1 516 บาท/คน/ปี
ป.2 605 บาท/คน/ปี
ป.3 622 บาท/คน/ปี
ป.4 653 บาท/คน/ปี
ป.5 785 บาท/คน/ปี
ป.6 817 บาท/คน/ปี
ม.1 699 บาท/คน/ปี
ม.2 863 บาท/คน/ปี
ม.3 928 บาท/คน/ปี
ม.4 1,257 บาท/คน/ปี
ม.5 1,263 บาท/คน/ปี
ม.6 1,109 บาท/คน/ปี
ปวช.1-3 2,000 บาท/คน/ปี (เฉพาะสถานประกอบการ)

การคัดเลือกหนังสือ
1. ครูผู้สอนคัดเลือกหนังสือ นำเสนอ
2. คณะกรรมการวิชาการ พิจารณาแล้วนำเสนอ
3. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและ
4. คณะกรรมการภาคี 4 ฝ่าย ให้ความเห็นชอบ
5. แต่งตั้งคณะกรรมการจัดซื้อตามระเบียบพัสดุ

คณะกรรมการภาคี 4 ฝ่าย ประกอบด้วย
1. ผู้แทนครู
2. ผู้แทนผู้ปกครอง
3. ผู้แทนชุมชน
4. ผู้แทนกรรมการนักเรียน
** คณะกรรมการภาคี 4 ฝ่ายได้มาจากมติของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน


3. ค่าอุปกรณ์การเรียน
อนุบาล 200 บาท/คน/ปี
ประถมศึกษา 390 บาท/คน/ปี
มัธยมศึกษาตอนต้น 420 บาท/คน/ปี
มัธยมศึกษาตอนปลาย 460 บาท/คน/ปี
ปวช.1-3 460 บาท/คน/ปี (สถานประกอบการ)
***ผู้ปกครองสามารถ ถัวจ่ายระหว่างอุปกรณ์การเรียนกับเครื่องแบบนักเรียนได้***

4. ค่าเครื่องแบบนักเรียน คนละ 2 ชุด/ปี ในอัตรา
อนุบาล 300 บาท/คน/ปี
ประถมศึกษา 360 บาท/คน/ปี
มัธยมศึกษาตอนต้น 450 บาท/คน/ปี
มัธยมศึกษาตอนปลาย 500 บาท/คน/ปี
ปวช.1-3 900 บาท/คน/ปี (สถานประกอบการ)
***กรณีมีชุดเพียงพอแล้วสามารถซื้อเข็มขัด รองเท้า ถุงเท้า ชุดกีฬา ชุดลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาดได้****

5. ค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ประกอบด้วย
5.1 กิจกรรมวิชาการ เช่นกิจกรรมประชาธิปไตย ค่ายทักษะชีวิต พัฒนาตามอัตลักษณ์สถานศึกษา
5.2 กิจกรรมคุณธรรม/ลูกเสือ/เนตรนารี/ยุวกาชาด
5.3 ทัศนศึกษา
5.4 การบริการสารสนเทศ ICT ไม่น้อยกว่า 40 ชั่วโมง/คน/ปี
งบประมาณ
อนุบาล 430 บาท/คน/ปี
ประถมศึกษา 480 บาท/คน/ปี
มัธยมศึกษาตอนต้น 880 บาท/คน/ปี
มัธยมศึกษาตอนปลาย 950 บาท/คน/ปี
ปวช.1-3 950 บาท/คน/ปี (สถานประกอบการ)
แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันที่ http://www.facebook.com/atphitsanulok นะครับ

01 กรกฎาคม 2555

วิทยากรการพัฒนาสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ฯ วันที่ 2

   ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พิษณุโลก เขต 1 และผู้อำนวยการโรงเรียนวัดยางแขวนอู่ มอบหมายให้ครูพิริยะ  ตระกูลสว่าง ให้บริการทางวิชาการพร้อมกับ ศน.พิพัฒน์ ปิ่นจินดา ตามหนังสือที่ ศธ.0530.2 / 100 ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2555 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม โดยเป็นวิทยากรตามโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์โดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักศึกษา สาขาวิทยาศาสตร์ชั้นปีที่ 4 (ห้องประชุมกาซะลอง ม.ราชภัฏพิบูลสงคราม) ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน -  1 กรกฎาคม 2555


วันที่สอง


วันที่สองของการอบรม

เริ่มต้นกิจกรรมการประยุกต์ใช้ 13 ทักษะทางวิทยาศาสตร์ 

การสังเกต - การลงความเห็น

อย่าฮามากครับ พี่เขิน

ตั้งใจกันจริงๆ

พี่พูดเป็นวิชาการมากขนาดนั้นเลยเหรอครับ

เพิ่มคำอธิบายภาพ


ลงไปแอบดู.... คำตอบของน้องๆ

ตอบเอง ฮาเอง นะน้อง




เฉลย!!!!


น้องเอิ๊บ ช่างภาพฝีมือเทพ "สื่อมวลชน คนหัวตั้ง"

ทดสอบหลังเรียน

เครียด!!!

วิทย์ - ทั้วไป จงเจริญ

ท่านอาจารย์ มาควบคุมด้วยตนเอง

พี่เจี๊บคนสวย ตรวจข้อสอบ

การออกแบบการจัดการเรียนรู้

ระดมสมอง

เอาไงดี

แบบนี้ดีไหม

ต่างคน ต่างใช้ความสามารถของตัวเอง

น้องคนนี้วาดรูปเก่งมาก

กลุ่มนี้เครียดจัง

อันนี้ วางแผนตามขั้นตอน

เอาไงดี ตัวเอง

หมดเวลาแล้ว

นำเสนอกลุ่มที่ 1

นำเสนอเอง ฮาเอง

กลุ่มที่ 2

กลุ่มที่ 3

กลุ่มที่ 4

กลุ่มที่ 5

กลุ่มที่ 6

กลุ่มที่ 7

กลุ่มที่ 8

ท่านอาจารย์ชญานิษฐ์ ศศิวิมล กล่าวสรุปโครงการอบรมฯ

ถ่ายรูปเป็นที่ระลึก

น้องๆมาขอถ่ายภาพด้วย

น้องคนนี้เป็นสภานักศึกษาด้วยนะเนี่ย

 
   
ให้คะแนนข้อเขียนนี้...คุณจะให้กี่ดาวดีจ๊ะ