11 พฤษภาคม 2556

กระแสเรื่องการยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก บนโลกไซเบอร์

ในช่วงนี้ กระแสการยุบควบรวมโรงเรียนที่มีขนาดเล็กกำลังเป็นที่กล่าวถึงในสังคมต่างๆ โดยเฉพาะในยุคนี้ การสื่อสารและการแสดงออกทางความคิดเห็นเป็นเรื่องง่ายขึ้น

บางคนแสดงออกด้วยความรู้สึกจริงจังทางการเมือง (และการศึกษา)

บางคนแสดงออกด้วยความรู้สึกสบายๆ แต่แอบล้อเลียนไปบาง

ครูบ้านนอกได้มีโอกาสอ่านบทความของมติชนออนไลน์ จึงอยากนำเสนอไว้เป็นประวัติศาสตร์ตรงนี้บ้าง ว่าคนอื่นๆ เค้าคิดเห็นกันอย่างไรครับ


ภาพจาก ห่วยตูน



ภาพจาก เฮ้ย! นี่มันตัดต่อชัด ชัด




กระแสเทไปที่การถล่ม นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

จนกระทั่ง เพจ Go6 TV Community Page ได้นำข้อความจากผู้ที่ใช้ชื่อว่า Twentytwo moon มาแชร์  ซึ่งจากการตรวจสอบความน่าเชื่อถือ พบว่าเป็นข้อความจากเฟสบุคของนักข่าวประจำกระทรวงศึกษาธิการของสำนักข่าวแห่งหนึ่งจริงๆ

ข้อความดังกล่าวมีความโดยสรุปว่า ในฐานะที่เป็นผู้ทำข่าวนี้เอง คุณ Twentytwo moonขอบอกว่าข่าวถูกขยายไปจนบิดเบือน จริงๆ เรื่องนี้เป็นประเด็นมานานแล้ว และจะเปิดเฉพาะโรงเรียนที่เล็กมากๆ และมีโรงเรียนที่มีมาตรฐานรองรับเท่านั้น พร้อมทั้งถามหาจรรยาบรรณของสื่อ ที่เสนอข่าวดังกล่าว



จากนั้นกระแสก็เริ่มกลับทาง...

เพจ ไฟเขียวประเทศไทย ได้โพสกราฟฟิก ซึ่งอ้างข้อความตอนหนึ่งของแถลงการครูรากหญ้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 2 ว่า

"...หลายฝ่ายอาจจะอ้างว่า การลงทุนทางการศึกษา เป็นบริการสาธารณะ เป็นการสร้างจิตวิญญาณของคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ไม่ควรคิดถึงความคุ้มทุน แต่ให้คิดถึงการบริการ การให้
แต่ถ้าเราเห็นอยู่ทนโท่ว่า มีวิธีการที่ดีกว่า คุ้มทุนกว่า มีประสิทธิภาพมากกว่า ทำไมไม่ช่วยกันคิดช่วยกันทำให้ดีขึ้น
อย่างกับโรงเรียนที่จังหวัดศรีสะเกษ ที่เป็นข่าวมีนักเรียน 3 คน มีครู 2 คน แต่ไม่มีใครกล้ายุบ รัฐลงทุนต่อหัวไปเท่าไหร่ ต้องบอกว่าบ้ากันทั้งประเทศแล้ว"




เพจ Just another Info. ได้โพสอินโฟกราฟฟิก อธิบาย "แนวคิดปฏิรูปยกระดับโรงเรียนขนาดเล็ก" ด้วยการควบรวม" ว่า

1. เพราะปัจจุบันโรงเรียนขนาดเล็ก มีนักเรียน ต่ำกว่า 60 คนครูเพียง 2-3 คน ต้องสองทั้ง ป.1 - 6 ทำให้ต้องสอนรวมกันเป็นห้องเดียว ตามมีตามเกิด ขาดประสิทธิภาพ

2. แนวคิดปฏิรูปยกระดับโรงเรียนขนาดเล็ก ด้วยการควบรวม คือการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก 3-4 โรงเข้าด้วยกัน เพื่อให้มีนักเรียนโรงเรียนละ 200 กว่าคน สามารถแบ่งเรียนได้ตามรำดับชั้น มีครูดูแลมากกว่า 10 คน และมีอุปกรณ์การศึกษาครบถ้วน

3. จากการสำรวจโรงเรียนที่ควบรวมกันจะไม่ห่างกันมากนัก รัฐบาลจะจัดให้มีรถรับส่งเด็กฟรี


4. นักเรียนทุกคนจะได้เรียนในชั้นเรียนเดิม หลักสูตรเดิม และจะได้รับการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น




ส่วนตัวผมเอง ก็ได้มีโอกาสไปเป็นโรงเรียนแห่งหนึ่งที่อยู่ในหลืบเขา (หลืบเขาจริงๆครับ) เป็นโรงเรียนที่นักศึกษาสมัย 14 ตุลา และ 6 ตุลา ช่วงที่เขาหนีเข้าป่ามาสร้างไว้ อยู่ห่างจากถนนสายหลักประมาณ 3 กม. และห่างจากโรงเรียนที่ใกล้ที่สุด ประมาณ 7 กม. 

ถ้าโรงเรียนนี้โดนยุบ มีโอกาสเป็นไปได้มากว่าผู้ปกครองจะไม่ให้นักเรียนเรียนต่อ เพราะนอกจากการเดินทางที่ลำบากกว่าเดิม ทุกวันนี้ ผู้ปกครองบางคนเค้าไม่ค่อยสนับสนุนให้ลูกเรียน เนื่องจาก "เสียเวลาในการทำมาหากิน" ประมาณว่า ออกมาทำก่อสร้างรุ่งกว่า

อันนี้ไม่ได้เขียนเอง นั่งเทียนเอง เพราะประสบการณ์ที่ได้สอนนักเรียนบางคน ขาดสิ่งเร้าความสนใจ เพราะพ่อแม่กรอกหูว่า "ไม่ต้องอะไรมากมาย จบมาก็ไปทำนา ไปทำก่อสร้าง" เด็กเลยขาดสิ่งเร้าที่อยากเอาชนะสภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบัน ขนาดครูงัดเอากลเม็ดวิธีสอน  งัดกลเม็ดทางจิตวิทยามาหลายสิบวิธี คนที่เปลี่ยนทัศนคติมีไม่ถึงครึ่ง (เพราะถึงเค้าอยากเรียน พ่อแม่ก็ให้ไปทำนาอยู่ดี)

...แล้วถ้าต้องเดินทางไกลกว่าเดิม (แม้จะมีรถรับ-ส่ง) โอกาสจะมีมากน้อยเพียงใด ลองคิดเอาเอง

ความเห็นส่วนตัวนะครับ อย่าคิดมาก



   ........................................................







...............................



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นครับ

ให้คะแนนข้อเขียนนี้...คุณจะให้กี่ดาวดีจ๊ะ