16 มิถุนายน 2552

ธชัคคปริตร (ธะชัคคะสุตตัง)

ธชัคคปริตร (ธะชัคคะสุตตัง)
(สวดเมื่อมีเหตุจะต้องขึ้นที่สูง)

เอวัม เม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ฯ ตัตระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติ ฯ ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง ฯ ภะคะวา เอตะทะโวจะฯ ภูตะปุพพัง ภิกขะเว เทวาสุระสังคาโม สะมุปัพยุฬ โห อะโหสิ ฯ อะถะโข ภิกขะเว สักโก เทวานะมินโท เทเว ตาวะติงเส อามันเตสิ สะเจ มาริสา เทวานัง สังคา มะคะตานัง อุปปัชเชยยะ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา มะเมวะ ตัสมิง สะมะเย ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ มะมัง หิ โว ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปิหิยยิสสะติ โน เจ เม ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ อะถะ ปะชาปะติสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกย ยาถะ ปะชาปะติสสะ หิโว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ ปะชาปะติสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ อะถะ วะรุณัสสะ หิโว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิส สะติ โน เจ วะรุณัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโล เกยยาถะ อีสานัสสะ หิโว เทวะ ราาชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะตีติฯ ตัง โข ปะนะ ภิกขะเว สักกัสสะ วา เทวานะ มินทัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ปะชาปะติสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง วะรุณัสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง อีสานัสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วาโส ปะหิยเยถาปิ โนปิ ปะหิยเยถะ ตัง กิสสะเหตุ สักโก หิ ภิกขะเว เทวานะมินโท อะวีตะราโค อะวีตะโทโส อะวีตะโมโห ภิรุ ฉัมภี อุตราสี ปะลายีติฯ อะหัญจะ โข ภิกขะเว เอวัง วะทามิ สะเจ ตุมหากัง ภิกขะเว อะรัญญะคะตานัง วา รุกขะมูละคะตานัง วา สุญญาคาระคะตานัง วา อุปปัชเชยยะ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา มะเมวะ ตัสมิง สะมะเย อันุสสะเรยยาถะ อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ มะมัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ มัง อะนุสสะเรยยาถะ อะถะ ธัมมัง อะนุสสะเรยยาถะ สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ ธัมมัง หิโว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ ธัมมัง อะนุสสะเรยยาถะ อะถะ สังฆัง อะนุสสะเรยยาถะ สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะ กะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะ ปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณะโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ สังฆัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ ตัง กิสสะ เหตุ ตะถา คะโต หิ ภิกขะเว อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วีตะราโค วีตะโทโส วีตะโมโห อะภิรุ อัจฉัมภี อะนุตราสี อะปะ ลายีติฯ อิทะมะโวจะ ภะคะวา อิทัง วตวานะ สุคะโต อะถาปะรัง เอตะทะโวจะ สัตถา อะรัญเญ รุกขะมูเล วา สุญญาคาเรวะ ภิกขะโว อะนุสสะเรถะ สัมพุทธัง ภะยัง ตุมหากะ โน สิยา โน เจ พุทธัง สะเรยยาถะ โลกะ เชฏฐัง นะราสะภัง อะถะ ธัมมัง สะเรยยาถะ นิยยานิกัง สุเทสิตัง โน เจ ธัมมัง สะเรยยาถะ นิยยานิกัง สุเทสิตัง อะถะ สังฆัง สะเรยยาถะ ปุญญักเขตตัง อะนุตตะรัง เอวัมพุทธัง สะรันตานัง ธัมมัง สังฆัญจะ ภิกขะโว ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส นะ เหสสะตีติ ฯ

15 มิถุนายน 2552

ผิดด้วยหรือ ที่ไม่ได้ btc

มีคนบอกว่า ทำไม ผมจึงไม่เรียนวุฒิลูกเสือ
แหม
ก็ตอนที่ผมเรียนปริญญาตรี ผมเรียนตั้ง 151 หน่วยกิต แต่สาขาวิชาอื่น เค้าเรียนแต่ 148 เอง เค้าเลยมีอบรมวิชาลูกเสือ

จริงๆแล้ว ผมอยากสอน นศท. หรือที่เรียกว่า ร.ด. นั่นเอง
ผมว่า ผมไม่เหมาะกับการสอนลูกเสือ เพราะเด็กๆ ยังเล็กเกินกว่าจะฝึกหัดหลายๆอย่างได้

การโผ
การรุก
การตี
การถอยร่น
การตีโฉบฉวย
การตีแบบกองโจร
การปฏิบัติการทางจิตวิทยา

แหมๆๆๆๆๆ แล้วจะสอนลูกเสือได้ไหมเนี่ย

สมการรวยแน่นอน

สมการรวยแน่นอน
ว่าแต่จะทำได้ไหมเนี่ย พวกเรายิ่งเป็นครูบ้านนอกจนๆอยู่ด้วย

สมการคนรวย
รายได้ - เงินออม = รายจ่าย

แต่เดิม
รายได้ - รายจ่าย = เงินออม
เมื่อมีรายได้ เอามาหักค่าใช้จ่าย จึงเป็นเงินออม ทำให้มีตัวเลือกใช้จ่ายมาก แต่พอให้สมการใหม่ มันก็ตอยคำถามว่า ตกลง เราควรจะใช้จ่ายเท่าไรกันแน่

ใครรวยแล้ว เอาไปทำบุญ ทำกุศลด้วยนะครับ

13 มิถุนายน 2552

ประเภทของ ปพ.

ปพ. 1 คือ ระเบียบแสดงผลการเรียน
ปพ. 2 คือ ประกาศนียบัตร
ปพ. 3 คือ รายงานผู้สำเร็จการศึกษา
ปพ. 4 คือ ผลการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ปพ. 5 คือ ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
ปพ. 6 คือ ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนรายบุคคล
ปพ. 7 คือ ใบรับรองผลการศึกษา
ปพ. 8 คือ เอกสารระเบียนสะสม
ปพ. 9 คือ สมุดบันทึกผลการเรียนรู้

.........................................................
Thailand Travel memo
หลวงปู่ทวด ยันต์ 5 แถว หนุนดวง
รุ่น ยืนมั่นคงบุญฤทธิ์หนุนดวง
กรมหลวงชุมพร

...................................

12 มิถุนายน 2552

กลยุทธ์เพื่ออิสรภาพทางการเงิน

กลยุทธ์เพื่ออิสรภาพทางการเงิน

1. ควรสำรองเงินไว้ใช้เผื่อฉุกเฉินเท่าไรดี

จำนวนเงินขั้นต่ำที่ควรออมไว้เผื่อฉุกเฉินคือ ประมาณ 6 เท่าของรายจ่ายประจำเดือน โดยออมไว้ในลักษณะที่มีสภาพคล่องสูง หากเงินออมสามารถมีผลตอบแทนได้ด้วยก็ยิ่งดี เช่น ฝากธนาคารไว้ในบัญชีออมทรัพย์บางส่วน ในบัญชีเงินฝากประจำบางส่วน หรือในรูปของทรัพย์สินมีค่าที่มีสภาพคล่องดี เป็นต้น
การซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตก็มีประโยชน์เผื่อการป่วยไข้หรือประสบอุบัติเหตุได้

2. มีเงินออมเท่าไรจึงจะดี

เงินออมที่ควรมี = อายุ X เงินได้ทั้งปี X 0.1

ตัวอย่าง สมชายอายุ 30 ปี มีรายได้เดือนละ 25,000 บาท
สมชายควรมีเงินออม = 30 X 25,000x12 X 0.1 = 900,000 บาท

หากมีเงินออมน้อยกว่าที่คำนวณได้ ควรต้องเร่งออมและมีวินัย เพื่อชีวิตที่สบายในวันหน้า

3. ออมแบบลบ 10 เพิ่ม 10

ออมแบบลบ 10 คือ หาได้เท่าไรหักไว้เป็นเงินออม 10% ก่อนใช้จ่ายเสมอ
ออมแบบเพิ่ม 10 คือ ก่อนจะใช้เงินต้องแยกเงินไปออมไว้ 10% ของเงินที่จะจ่ายไป

ออมแบบนี้จะสร้างนิสัยการออมเพื่อชีวิตที่สบายวันหน้า

4. ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่รัฐมอบให้

ในเดือนมีนาคมของทุกปีเป็นช่วงเวลายื่นภาษีเงินได้สำหรับคนวัยทำงาน บางท่านอาจรู้สึกเสียดายเมื่อเห็นยอดภาษีที่ต้องจ่ายในแต่ละปี แต่หากศึกษาสิทธิประโยชน์และเงื่อนไขที่รัฐมอบให้เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักออมและเลือกลงทุนแล้ว จะพบว่าท่านสามารถประหยัดภาษีได้เป็นจำนวนไม่น้อยที่เดียว เช่น การลงทุนซื้อประกันชีวิต การฝากธนาคารบัญชียกเว้นภาษี หุ้นกู้ การลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund หรือ LTF) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund หรือ RMF)

5. ประหยัด 1 บาท เท่ากับเพิ่มเงินออมมากกว่า 1 บาท

ทุกๆ 1 บาทที่ประหยัดได้วันนี้ เท่ากับมีฐานเงินออมเพิ่มาขึ้น 1 บาท ที่กำลังจะสร้างผลตอบแทนที่งอกเงย นำไปสู่ความมั่งคงที่เพิ่มขึ้น

6. สี่ขั้นตอนวางแผนใช้จ่ายเพื่อ “เพิ่มคุณภาพชีวิต”

1) สำรวจรายได้ เพื่อให้รู้ถึงวงเงินที่สามารถจ่ายได้
2) กำหนดเป้าหมายการใช้จ่าย โดยวางแผนใช้จ่าย เพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิต
“สบายวันนี้ ไม่ดีพอ แต่เราขอ คงมั่งมี ในวันหน้า”
3) บันทึกการใช้จ่ายทุกวัน จะช่วยเตือนใจให้ใช้จ่ายอยู่ในงบประมาณที่ตั้งไว้
4) มีวินัย ทบทวน ปรับปรุงแผนการใช้จ่ายเป็นระยะๆ เพื่อใสอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง

7. สี่ขั้นตอนวางแผนใช้จ่ายเพื่อ “เพิ่มคุณภาพชีวิต”
ควรใช้จ่ายเพื่อมุ่งหวัง “เพิ่มคุณภาพชีวิต” โดยพิจารณาประโยชน์ หรือคุณค่าที่แท้จริงมากกว่ากระแสนิยม เช่น รับประทานอาหารด้วยหวังในคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจมากว่าหวังความโก้หรู

8. แนวทางการใช้จ่ายอย่าง “มีคุณภาพ”
  • ซื้อเมื่อจำเป็น ไม่ใช้ ไม่ซื้อ
  • ซื้อเมื่อพร้อมทั้งเงินทุน การใช้ประโยชน์และการดูแลรักษา
  • ไม่หลงกลลวงการตลาดเพราะของแถมหรือได้รับสิทธิพิเศษ
  • เปรียบเที่ยบราคาและคุณประโยชน์ก่อนตัดสินใจซื้อ
  • บันทึกแผนการใช้จ่าย และการใช้จ่ายจริงทุกครั้ง
  • ไม่หลงโฆษณาชวนเชื่อที่อ้างสรรพคุณเกินจริง
ท่องคาถาประหยัดเงินอยู่เสมอ เช่น “ถูกแค่ไหน ถ้าไม่ใช้ ก็ไม่ซื้อ”

9. ตัวอย่างค่าใช้จ่ายที่ท่านสามารถแปลงเป็นเงินออม
ค่าบุหรี่ ค่าเครื่องดื่มปรุงแต่ง หรือผสมแอลกอฮอล์ หากเปลี่ยนวิถีชีวิตโดย ลด ละ เลิก สิ่งเหล่านี้เพียงวันละ 50 บาท เป็นเวลา 365 วันใน 1 ปี ท่านจะมีเงินออมมากกว่า 18,250 บาท ทั้งได้ความมั่นคงในชีวิตและสุขภาพที่ดีขึ้น


“(ออม) สบายๆ วันนี้…สร้างความพร้อมที่จะสบายวันหน้า”


ที่มา : เอกสารโครงการให้เงินทำงานผ่านกองทุนรวม

11 มิถุนายน 2552

10 มิถุนายน 2552

ความเครียดจากการทำผลงานชำนาญการพิเศษ

บัดนี้ จวนเวลาของการประกาศผลงานชำนาญการพิเศษ (ค.ศ.3)

หลายท่านที่ส่งผลงานไปก็คงกระสับกระส่าย นอนไม่หลับ เครียด
เพราะได้ทุ่มเททั้งแรงกาย แรงใจ แรงเงิน และแรงดัน(จากครอบครัว)

หลายคนมีปัญหากันช่วงทำงาน
บัดนี้ ขอให้คืนดีกัน

หลายคนสามีช่วยภรรยา
แต่ได้เงินมา เป็นของภรรยา

หลายคนสามีลงมือทำ
ประกาศผล สามีได้
แต่ภรรยาเก็บตังส์ 55 ล้อเล่นให้หายเครียดนะครับ

เอาเถิดครับ ทำเพื่อการศึกษาไทย ทำเพื่อเด็ก ผลบุญจะส่งให้ได้ดีครับ

...เชื่อผมเถอะ

09 มิถุนายน 2552

วันฝนตก

วันนี้ฝนตกตอนกลับบ้าน
ช่างเป็นการเดินทางที่ลำบาก ทั้งต้องคอยประคองรถมอเตอร์ไซต์ไม่ให้ลืมจากถนนลื่น จากลมพัด และจากการที่รถบรรทุกคันใหญ่ๆ ดูด

การดูดของรถบรรทุก เกิดจากการที่รถเคลื่อนที่แซงไปข้างหน้าด้วยความเร็วที่มากกว่า
บ่อยครั้งที่คนที่ไม่มีสติ หรือเมื่อพบการดูดแลวจกใจ ตะทำให้ไปนอนอยู่ใต้ล้อรถ

วิธีการที่ผมใช้ (เพราะวิธีนี้ประคับประคองชีวิตผมมาหลายปี)
- เกร็งแขน
- ผ่อนความเร็วลง
- พยายามทรงตัว และเบี่ยงชิดซ้าย

อีกอย่าง ระวังรถข้างหลังด้วยนะครับ


วันนี้ฝนตกมากๆๆๆๆๆ แรงๆๆๆๆๆ
เสียดายจริงๆ ที่โรงเรียนไม่ใช่โรงแรมสวยๆ บริการทุกระดับประทับใจ ที่ได้นอนรอให้ฝนหยุด

เหนื่อยจัง

ว่าแต่ วันนี้มีข่าวดีที่รอคอย และปฏิเสธไปด้วย 55 ไม่ค่อยหล่อ แต่เลือกได้
ให้คะแนนข้อเขียนนี้...คุณจะให้กี่ดาวดีจ๊ะ