25 พฤศจิกายน 2553

บำเพ็ญประโยชน์ จิตสาธารณะ

จิตสาธารณะ เรื่องใกล้ตัวเราเอง นะนี่

วันนี้ได้รับหน้าที่ตรวจสอบ ตรวจตรา ตรวจดูว่า นักเรียนมีจิสาธารณะเท่าไร โดยแบ้งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม แล้วให้เลือกว่า จะทำหน้าที่อะไรกันเอง นักเรียนก็ปฏิบัติด้วยตนเอง

เหนื่อยกาย แต่สุขใจครูบ้านนอก เนาะ



มาชมภาพกัน






































ไปละครับ เตรียมสอบภาษาจีน เย็นนี้...

21 พฤศจิกายน 2553

แข่งศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา

วันนี้เราไปทำสงคราม
เป็นการต่อสู้กับความหวาดหวั่นที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของเราเอง เมื่อต้องเผชิญหน้ากับคู่แข่งที่แข็งแกร่งกว่า น่ากลัวกว่า และมีความพร้อมมากกว่า

ในการต่อสู้วันนี้ เรื่องของจิตใจเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะถ้าหวาดกลัวกับสิ่งที่กำลังทำ หนู ก็จะกลายเป็นราชสีห์ เมื่อมุมมองในการมองสิ่งเล็กๆผิดพลาดไป การใหญ่ก็พลาดได้

เด็กนักเรียนโรงเรียนวัดยางแขวนอู่ ได้เป็นตัวแทนกลุ่มโรงเรียนบางระกำ - ท่านางงามในระดับต่างๆ เข้าร่วมแข่งขันมหกรรมวิชาการ ศิลปหัตถกรรมนักเรียนในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ทั้งประถมศึกษา และเขตมัธยม ในระดับประถมแข่งวันเสาร์ ส่วนมัธยมแข่งวันอาทิตย์นั่นก็คือวันนี้

ข้อเสียเปรียบของโรงเรียนเล็ก คือจำนวนตัวเลือกไม่มากพอ แต่ในสายตาของครู นักเรียนทุกคนคือบุคคลที่มีคุณภาพ สามารถต่อกรกับคู่ต่อสู้ที่ใหญ่ๆได้ แม้ว่าเค้าจะมองเราว่า เป็นโรงเรียนเล็กๆในหลืบก็ตาม

เรามาชมภาพกันดีกว่า ()

ตัวแทนแข่งขันการพูดภาษาจีน และการสร้าง e-book

ครูเอ็ด เตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ ให้ความกรุณาดูแลน้องๆ


ยิ้มไปเถอะ เดี๋ยวรู้สึก

ยังไม่รู้ ... จะทำอย่างไรดี

หน้าระรื่นนะ ไอ้บี (ปากซีดจะเป็นลม)

ตัวแทนนักเรียนจากมัธยมชื่อดังในจังหวัดพิษณุโลก

ยืนหน้า แต่ขาสั่นหรือเปล่า



คุณครูคนสวยผู้สอนภาษาจีน ร.ร.พิษณุโลกพิทยาคม กรุณาดูแลให้

สงสัยจะงง



กลับมาที่ e-Book เครียดเชียว

ตื่นๆครับ พี่น้อง

ครูวาสนา บุญโสภา

โอบไม่มิด


เข้มเชียว


พี่เอ็ดๆ ได้ข่าวว่าแกล้งครูเป้ย ต.อ. เหรอ

รูปนี้แขม่วพุงทัน

กรรมการเครียด (ภาษาจีน)


เริ่มตัดสินแล้ว

ถ่ายรูปเป็นที่ระลึก (ยังไปนั่งกลางอีก เฮ้อ เด่นทุกรูปเลยไอ้นี่)


หลังจากที่ออกมาจากห้องแข่ง ชู 2 นิ้ว ท้องกิ้วเพราะไม่มีอะไรกิน (ร้านไม่ขาย)


ครูแชมป์ (นั่งเครียด)

อะ แขม่วละ ถ่ายได้


"หนูหิวแล้วววววววว"

ไปถ่ายที่มุมโบราณ สวนชมน่าน ขณะรอเพื่อนๆแข่งวิทย์


จะเอาเป้าไหนดี

ไม่เข้าครับน้อง

หนูขอมั่ง

ภายในห้องแข่งอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมต้น


ภูมิใจ ที่ทำให้นักเรียนสู้ได้ วางแผนได้ และสร้างสรรค์สิ่งดีๆแก่โรงเรียนได้ แม้โรงเรียนเราจะเป็นโรงเรียนเล็ก ขาดแคลน เฉพาะห้องวิทยาศาสตร์ ได้รับเงินสนับสนุนปีละ 800 บาท และอุปกรณ์รุ่นเก่าๆทีไ่ด้มาตั้งแต่ปี 2542 มันจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา

แต่ถ้าหัวใจที่สู้ ... มันทำให้เราแค่ไม่ชนะในเกมส์ ไม่ใช่คนแพ้.... เพราะคนที่แพ้ คือคนที่ไม่ยอมเข้าสู้

20 พฤศจิกายน 2553

kang Jiàoshī

คุณครู kang เป็นครูสอนภาษาจีนที่น่ารักมาก
ใจดี ไม่ปวดหัวกับเด็กๆ (จริงๆแล้วไม่เด็ก เพราะอายุมากกว่าหลายคนเลย 55+) ที่พูดผิดๆถูกๆ

ที่สำคัญ เป็นคนที่ตั้งชื่อ หวัง เจีย หมิง ให้ด้วย
(แปลว่า ผู้เป็นหนึ่ง แห่งบ้านแสงสว่าง) จะไปเป็นญาติห่างๆ พจมาน สว่างวงศ์ซะงั้น อิอิ




ผมเองก็เป็นครู ก็พอทราบว่า ถ้าพูดอะไรไปแล้วเด็กไม่เข้าใจ เราจะปวดหัวเพียงใด แล้วนี่ สอนภาษาจีนให้กับชาวไทย จะปวดหัวขนาดไหน (คนเรียนก็ปวดหัว คำเดียวกัน อ่านได้ตั้ง 4 เสียง) คุณครู kang และ คุณครูทุกท่าน ก็ใจดี ใจเย็น ค่อยๆสอน

นี่อาทิตย์หน้า จะสอบแล้ว แย่ละสิ...

ขอบคุณ คุณครูทุกท่าน ที่แสนน่ารักนะครับ

15 พฤศจิกายน 2553

คิดถึงอาหารที่เมืองไทยหรือยัง

ตอนนี้ไม่รู้ว่าใครบางคนคิดถึงอาหารที่เมืองไทยหรือยัง

วันนี้เลยเอาภาพมาฝาก



ป.ล. มีหนูตายในห้องวิทย์ เซ็งมากเลยวันนี้

12 พฤศจิกายน 2553

เลี้ยงอาหารกลางวันนักเรียน

วันนี้มีพี่สาวคนสวย มาเลี้ยงอาหารกลางวันให้นักเรียน ตอนแรกกะว่าจะไปถ่ายรูปเฉยๆ แต่พอเห็นแล้ว อดใจไม่ไหวจริงจริ๊งจ้า



.

08 พฤศจิกายน 2553

ประเภทของคำถาม

ประเภทของคำถาม


ประเภทของคำถามจำแนกออกเป็น 22 ชนิด คือ


1. คำถามเพื่อวัดความจำ (recall)


2. คำถามเพื่อจัดลำดับความจำ (qualified recall)


3. คำถามเพื่อเปรียบเทียบ (comparison)


4. คำถามเพื่อบอกความแตกต่าง (contrast)


5. คำถามเพื่อประมวลผล (evaluation)


6. คำถามเพื่อหาสาเหตุ (cause)


7. คำถามเพื่อถามผล (effect)


8. คำถามเพื่อให้แสดงโดยใช้ภาพประกอบ (illustration)


9. คำถามเพื่อจัดกลุ่ม (classification)


10. คำถามเพื่อสรุป (gemeralization)


11. คำถามเพื่อให้คำจำกัดความ (defintion)


12. คำถามเพื่อพิสูจน์ (proof)


13. คำถามเพื่อบรรยาย (description)


14. คำถามเพื่อแสดงลักษณะ (characterization)


15. คำถามเพื่อบอกความสัมพันธ์ (relationship)


16. คำถามเพื่อเล่าเรื่องย่อ (summary)


17. คำถามเพื่อวิจารณ์ (criticism)


18. คำถามเพื่อการนำไปใช้ (application)


19. คำถามเพื่อให้รวบรวม (organization)


20. คำถามเพื่อให้เลือก (alternative)


21. คำถามเพื่อวิเคราะห์ (analysis)


22. คำถามเพื่อสังเคราะห์ (synthesis)




วัตถุประสงค์ในการถามคำถาม


1. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน


2. ทดสอบความเข้าใจของผู้เรียน


3. ทำให้ผู้เรียนตั้งใจเรียน


4. ทดสอบความรู้ของผู้เรียน


5. ดูจุดอ่อน จุดแข็งของผู้เรียน


6. เริ่มต้นการอภิปราย หรือวิธีการสอนแบบอื่น


7. ให้ผู้เรียนเกิดความภูมิใจที่สามารถตอบถูก


8. ฝึกให้รู้จักอภิปรายปัญหา


9. ดูการร่วมกิจกรรมของผู้เรียน


10. ทบทวน


11. กระตุ้นให้ผู้เรียนอยากรู้


12. วัดผลการสอนของวิทยากร


13. ดึงความสนใจของผู้เรียนกลับมา




ลักษณะของคำถามที่ดี


เยาคามและซิมซัน (Gerald A. Yoakam and Robert G. simpson) ได้ให้ลักษณะของคำถามที่ดีไว้ดังนี้


1. ชัดแจ้ง ผู้เรียนสามารถเข้าใจได้โดยง่าย แม้ว่าตนเองจะไม่ทราบคำตอบ แต่ผู้เรียนเข้าใจว่าผู้ถามต้องการถามอะไร เช่น “ใครเป็นกษัตริย์ของอังกฤษ ?” จัดเป็นคำถามที่ดี แต่ถ้าถามว่า “ใครเป็นกษัตริย์” จะเป็นคำถามที่ไม่ชัดแจ้ง


2. ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายต่อการเข้าใจ ไม่เกินที่ผู้ตอบในวัยนั้นจะเข้าใจ


3. ท้าทาย เป็นคำถามที่เร้าและกระตุ้นให้ผู้เรียนคิด เช่น “การที่รัฐบาลจะขายรัฐวิสาหกิจให้กับต่างประเทศ พวกเราคิดว่าเหมาะสมหรือไม่ ?”


4. เป็นคำถามที่แน่นอน ที่ต้องการคำตอบที่เป็นข้อเท็จจริง ไม่ใช่เป็นคำถามที่เป็นปัญหาโลกแตก เช่น “ท่านคิดว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ไทยประสบปัญหาเศรษฐกิจ ?”


5. เฉพาะเจาะจง คำถามที่ดีต้องการคำตอบที่เฉพาะเจาะจง มากกว่าคำตอบทั่วๆ ไป




ข้อควรคำนึงในการถาม


คันนิ่งแฮม (Cunningham) ได้เสนอแนะว่าในการใช้คำถาม วิทยากรควรหลีกเลี่ยงคำถามดังต่อไปนี้


1. การตั้งคำถามที่สับสน ซึ่งรวมหลายๆ ความคิดเข้าด้วยกัน


2. คำถามที่ป้อนคำตอบ ซึ่งแนะนำแนวทางให้ผู้ตอบมากเกินไป


3. คำถามคลุมเครือ ซึ่งขาดหลักเกณฑ์ที่จะนำมาตอบคำถามได้ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ตอบเดาคำตอบ


4. คำถามใช่ – ไม่ใช่ ซึ่งผู้ตอบจะตอบเพียงใช่ - ไม่ใช่เท่านั้น


การสอนโดยการใช้คำถาม เป็นวิธีการที่แทรกปะปนกับวิธีการสอนแบบอื่นๆ เช่น การสอนแบบสืบสอนสอบสวน การสอนแบบบรรยาย การสอนแบบสาธิต ฯลฯ ทุกวิชา ทุกสาขา ต้องมีการสอนแบบใช้คำถาม กลวิธีการใช้การสอนแบบนี้ อาจทำได้ทั้งการนำเข้าสู่บทเรียน การสรุปบทเรียน การดำเนินการสอน และการเร้าความสนใจ ประสิทธิผลในการสอนแบบนี้ ขึ้นอยู่กับวิทยากรมีความสามารถในการตั้งคำถามได้ดีเพียงใดเป็นประการสำคัญ




10. การใช้สื่อ โสตทัศนูปกรณ์


อุปกรณ์ต่างๆ เช่น รูปภาพ สไลด์ วีดีโอ เทปบันทึกเสียง คอมพิวเตอร์ มีส่วนทำให้งานของวิทยากรง่ายขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีคำถามว่า ในการบรรยายของวิทยากรทุกครั้ง จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์หรือไม่




วิทยากรควรใช้อุปกรณ์ประกอบการบรรยายเมื่อไร


วิทยากรจะใช้อุปกรณ์ประกอบการบรรยายเมื่อ


1. ต้องการให้ผู้เรียนเข้าใจได้มากขึ้น


2. เรื่องที่พูดชัดเจนขึ้น


3. เมื่ออุปกรณ์นั้นสร้างความสนใจและดึงดูดความสนใจ


4. ประหยัดเวลาในการบรรยาย


5. เวทีหรือสถานที่เหมาะสมที่จะใช้อุปกรณ์


6. คุ้มค่ากับเวลา เงิน และความพยายามในการลงมือจัดทำ


7. อุปกรณ์นั้นสอดคล้องกับเรื่องที่พูด


8. ให้จำง่ายและก่อให้เกิดแนวคิดในสิ่งที่เรียน






วิธีการเลือกอุปกรณ์ประกอบการบรรยาย


วิธีการเลือกอุปกรณ์ประกอบการบรรยายมีดังต่อไปนี้


1. มีขนาดพอเหมาะกับจำนวนผู้เรียน เช่น เครื่องรับโทรทัศน์ เมื่อฉายวีดีโอที่มีขนาดใหญ่ หรือมีเครื่องฉาย วีดีโอโปรเจคเตอร์ฉายขึ้นจอใหญ่ ทำให้ทุกคนเห็นได้ชัด


2. จำนวนพอเพียงกับผู้เรียน หรือผู้เรียนมีโอกาสหมุนเวียนทดลองใช้อย่างทั่วถึง เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องมือประกอบการฝึกหัด


3. สภาพของอุปกรณ์อยู่ในสภาพซึ่งใช้งานได้ดี เช่น ภาพของวีดีโอควรชัดเจน ไม่พร่ามัว

07 พฤศจิกายน 2553

การสอนคิดในห้องเรียน

การสอนคิดในห้องเรียน
“ การเรียนรู้ที่ดีจะต้องพัฒนาการคิดเป็นพื้นฐานอยู่เสมอ”

ครูที่ประสงค์จะฝึกให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิด จะจัดการเรียนรู้ที่ยึดการพัฒนาทางสมองเป็นพื้นฐานหลักอยู่เสมอ

วิธีปฏิบัติที่นิยมใช้คือ “การสร้างนิสัยแห่งการคิด”

การสร้างนิสัยแห่งการคิด
  1. การฝึกให้ผู้เรียนแสวงหาข้อมูล
  2. การฝึกให้ผู้เรียนจัดกระทำข้อมูล
  3. การฝึกให้ผู้เรียนคิดเป็นผังความสัมพันธ์
  4. การฝึกให้ผู้เรียนสร้างและพิจารณาทางเลือกหลากหลาย
    4.1 การเปลี่ยนเงื่อนไขในผังความคิด
    4.2 การใช้บทบาทสมมุติ
    4.3 การใช้วิธีระดมสมอง
  5. การฝึกให้ผู้เรียนตรวจสอบผลกระทบและความสำคัญ

06 พฤศจิกายน 2553

ลักษณะสำคัญของการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาแบบอิงมาตรฐาน

ลักษณะสำคัญของการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาแบบอิงมาตรฐาน มีดังนี้

1) ทุกองค์ประกอบของหลักสูตรสถานศึกษาต้องเชื่อมโยงกับมาตรฐานการเรียนรู้

2) หน่วยการเรียนรู้ที่เป็นหัวใจของหลักสูตรสถานศึกษา

3) การจัดการเรียนรู้ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ ต้องช่วยให้ผู้เรียนบรรลุมาตรฐานและตัวชี้วัดที่ระบุในหน่วยการเรียนรู้นั้น ๆ

4) การวัดและประเมินผลชิ้นงาน / ภาระงานที่กำหนดในหน่วยการเรียนรู้ ควรเป็นการประเมินการปฏิบัติหรือการแสดงความสามารถของผู้เรียน (Performance Assessment)

5) ชิ้นงานหรือภาระงานที่กำหนดให้นักเรียนปฏิบัติ ควรเชื่อมโยงมาตรฐาน 2 – 3 มาตรฐาน

6) มีความยืดหยุ่นในกระบวนการ และขั้นตอนการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ เช่น อาจเริ่มต้นจากการวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ หรืออาจเริ่มจากความสนใจของนักเรียนหรือสภาพปัญหาของชุมชนก็ได้
ให้คะแนนข้อเขียนนี้...คุณจะให้กี่ดาวดีจ๊ะ