ประเภทของคำถาม ประเภทของคำถามจำแนกออกเป็น 22 ชนิด คือ
1. คำถามเพื่อวัดความจำ (recall)
2. คำถามเพื่อจัดลำดับความจำ (qualified recall)
3. คำถามเพื่อเปรียบเทียบ (comparison)
4. คำถามเพื่อบอกความแตกต่าง (contrast)
5. คำถามเพื่อประมวลผล (evaluation)
6. คำถามเพื่อหาสาเหตุ (cause)
7. คำถามเพื่อถามผล (effect)
8. คำถามเพื่อให้แสดงโดยใช้ภาพประกอบ (illustration)
9. คำถามเพื่อจัดกลุ่ม (classification)
10. คำถามเพื่อสรุป (gemeralization)
11. คำถามเพื่อให้คำจำกัดความ (defintion)
12. คำถามเพื่อพิสูจน์ (proof)
13. คำถามเพื่อบรรยาย (description)
14. คำถามเพื่อแสดงลักษณะ (characterization)
15. คำถามเพื่อบอกความสัมพันธ์ (relationship)
16. คำถามเพื่อเล่าเรื่องย่อ (summary)
17. คำถามเพื่อวิจารณ์ (criticism)
18. คำถามเพื่อการนำไปใช้ (application)
19. คำถามเพื่อให้รวบรวม (organization)
20. คำถามเพื่อให้เลือก (alternative)
21. คำถามเพื่อวิเคราะห์ (analysis)
22. คำถามเพื่อสังเคราะห์ (synthesis)
วัตถุประสงค์ในการถามคำถาม
1. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน
2. ทดสอบความเข้าใจของผู้เรียน
3. ทำให้ผู้เรียนตั้งใจเรียน
4. ทดสอบความรู้ของผู้เรียน
5. ดูจุดอ่อน จุดแข็งของผู้เรียน
6. เริ่มต้นการอภิปราย หรือวิธีการสอนแบบอื่น
7. ให้ผู้เรียนเกิดความภูมิใจที่สามารถตอบถูก
8. ฝึกให้รู้จักอภิปรายปัญหา
9. ดูการร่วมกิจกรรมของผู้เรียน
10. ทบทวน
11. กระตุ้นให้ผู้เรียนอยากรู้
12. วัดผลการสอนของวิทยากร
13. ดึงความสนใจของผู้เรียนกลับมา
ลักษณะของคำถามที่ดี
เยาคามและซิมซัน (Gerald A. Yoakam and Robert G. simpson) ได้ให้ลักษณะของคำถามที่ดีไว้ดังนี้
1. ชัดแจ้ง ผู้เรียนสามารถเข้าใจได้โดยง่าย แม้ว่าตนเองจะไม่ทราบคำตอบ แต่ผู้เรียนเข้าใจว่าผู้ถามต้องการถามอะไร เช่น “ใครเป็นกษัตริย์ของอังกฤษ ?” จัดเป็นคำถามที่ดี แต่ถ้าถามว่า “ใครเป็นกษัตริย์” จะเป็นคำถามที่ไม่ชัดแจ้ง
2. ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายต่อการเข้าใจ ไม่เกินที่ผู้ตอบในวัยนั้นจะเข้าใจ
3. ท้าทาย เป็นคำถามที่เร้าและกระตุ้นให้ผู้เรียนคิด เช่น “การที่รัฐบาลจะขายรัฐวิสาหกิจให้กับต่างประเทศ พวกเราคิดว่าเหมาะสมหรือไม่ ?”
4. เป็นคำถามที่แน่นอน ที่ต้องการคำตอบที่เป็นข้อเท็จจริง ไม่ใช่เป็นคำถามที่เป็นปัญหาโลกแตก เช่น “ท่านคิดว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ไทยประสบปัญหาเศรษฐกิจ ?”
5. เฉพาะเจาะจง คำถามที่ดีต้องการคำตอบที่เฉพาะเจาะจง มากกว่าคำตอบทั่วๆ ไป
ข้อควรคำนึงในการถาม
คันนิ่งแฮม (Cunningham) ได้เสนอแนะว่าในการใช้คำถาม วิทยากรควรหลีกเลี่ยงคำถามดังต่อไปนี้
1. การตั้งคำถามที่สับสน ซึ่งรวมหลายๆ ความคิดเข้าด้วยกัน
2. คำถามที่ป้อนคำตอบ ซึ่งแนะนำแนวทางให้ผู้ตอบมากเกินไป
3. คำถามคลุมเครือ ซึ่งขาดหลักเกณฑ์ที่จะนำมาตอบคำถามได้ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ตอบเดาคำตอบ
4. คำถามใช่ – ไม่ใช่ ซึ่งผู้ตอบจะตอบเพียงใช่ - ไม่ใช่เท่านั้น
การสอนโดยการใช้คำถาม เป็นวิธีการที่แทรกปะปนกับวิธีการสอนแบบอื่นๆ เช่น การสอนแบบสืบสอนสอบสวน การสอนแบบบรรยาย การสอนแบบสาธิต ฯลฯ ทุกวิชา ทุกสาขา ต้องมีการสอนแบบใช้คำถาม กลวิธีการใช้การสอนแบบนี้ อาจทำได้ทั้งการนำเข้าสู่บทเรียน การสรุปบทเรียน การดำเนินการสอน และการเร้าความสนใจ ประสิทธิผลในการสอนแบบนี้ ขึ้นอยู่กับวิทยากรมีความสามารถในการตั้งคำถามได้ดีเพียงใดเป็นประการสำคัญ
10. การใช้สื่อ โสตทัศนูปกรณ์
อุปกรณ์ต่างๆ เช่น รูปภาพ สไลด์ วีดีโอ เทปบันทึกเสียง คอมพิวเตอร์ มีส่วนทำให้งานของวิทยากรง่ายขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีคำถามว่า ในการบรรยายของวิทยากรทุกครั้ง จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์หรือไม่
วิทยากรควรใช้อุปกรณ์ประกอบการบรรยายเมื่อไร
วิทยากรจะใช้อุปกรณ์ประกอบการบรรยายเมื่อ
1. ต้องการให้ผู้เรียนเข้าใจได้มากขึ้น
2. เรื่องที่พูดชัดเจนขึ้น
3. เมื่ออุปกรณ์นั้นสร้างความสนใจและดึงดูดความสนใจ
4. ประหยัดเวลาในการบรรยาย
5. เวทีหรือสถานที่เหมาะสมที่จะใช้อุปกรณ์
6. คุ้มค่ากับเวลา เงิน และความพยายามในการลงมือจัดทำ
7. อุปกรณ์นั้นสอดคล้องกับเรื่องที่พูด
8. ให้จำง่ายและก่อให้เกิดแนวคิดในสิ่งที่เรียน
วิธีการเลือกอุปกรณ์ประกอบการบรรยาย
วิธีการเลือกอุปกรณ์ประกอบการบรรยายมีดังต่อไปนี้
1. มีขนาดพอเหมาะกับจำนวนผู้เรียน เช่น เครื่องรับโทรทัศน์ เมื่อฉายวีดีโอที่มีขนาดใหญ่ หรือมีเครื่องฉาย วีดีโอโปรเจคเตอร์ฉายขึ้นจอใหญ่ ทำให้ทุกคนเห็นได้ชัด
2. จำนวนพอเพียงกับผู้เรียน หรือผู้เรียนมีโอกาสหมุนเวียนทดลองใช้อย่างทั่วถึง เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องมือประกอบการฝึกหัด
3. สภาพของอุปกรณ์อยู่ในสภาพซึ่งใช้งานได้ดี เช่น ภาพของวีดีโอควรชัดเจน ไม่พร่ามัว