พอดีดูช่อง 3 พูดถึงเรื่องวิกฤตการศึกษาไทย คะแนน วิทย์ - คณิต อยู่ในระดับต่ำ เลยทำให้นึกถึงหัวข้อกระทู้เกี่ยวกับการขึ้นเงินเดือนครู แล้วมีอาชีพอื่น (รวมถึงในวงการศึกษาด้วยกัน) ออกมาวิจารณ์กันอย่างรุนแรง และเมามัน แต่สิ่งหนึ่งที่มีการเปรียบเทียบคือ เค้า(ทั้งหลาย) ต่างคิดว่า ครูแสนสบาย มีปิดเทอม แต่พวกเค้าต้องทำงานเกี่ยวกับเชื้อโรค เกี่ยวกับความตาย ทำไมไม่ให้ความสำคัญกับเค้าบ้าง
แถมคุณสรยุทธ์ ยังเจาะประเด็นเรื่องนี้ออกช่อง 3 อีก เชื่อว่าต้องมีคนพูดว่า "เห็นไหม ขึ้นเงินเดือนให้พวกครูไปก็เท่านั้น ผลสัมฤทธิ์เด็กก็แย่ลง"
เอาเป็นว่า ต่างคนต่างมอง ต่างคนต่างไม่เห็นอาชีพอื่นๆในทุกมุมมอง (คนที่มีแฟนเป็นครู ย่อมรู้ดีว่าหน้าที่ของครูต้องทำอะไรบ้าง คนที่มีแฟนเป็นตำรวจ ทหาร อบต. หรือแม้กระทั้งธุรการโรงเรียน ก็ต้องย่อมรู้ดีเช่นกัน) ... ดังนั้น เพื่อความเป็นธรรม เราไม่ควรตัดสินว่าอาชีพใดดีกว่า อาชีพใดสบายกว่า หากไม่มีข้อมูลจากประสบการณ์ตรง
ในฐานะที่เป็นครู ก็ขอพูดเฉพาะในมุมของครูก็แล้วกัน
พูดถึงครู ก็แบ่งออกเป็น ข้าราชการครู พนักงานราชการที่เป็นครู ครูอัตราจ้าง และครูเอกชน (สรุปแบบลวกๆนะครับ ว่ามี 4 กลุ่มใหญ่ๆนี้)
ทีนี้ เรามาดูประเภทโรงเรียนบ้าง ถ้าจำไม่ผิดก็จะแบ่งเป็น
- โรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัย
- โรงเรียนวัตถุประสงค์พิเศษ เช่นจุฬาภรณ์ หรือ มหิดลวิทยานุสรณ์
- โรงเรียนสังกัด สพฐ (ประถม / มัธยม)
- โรงเรียนสังกัด กทม.
- โรงเรียนเอกชน
- โรงเรียนพระปริยัติธรรม (สอนเณร)
- โรงเรียนสังกัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ. เทศบาล)
อันนี้แบ่งโดยคร่าวๆนะครับ ไม่ได้ถูกต้องตามหลักวิชาการอะไรทั้งนั้น
คราวนี้ ถ้าใครมีอาชีพเป็นครู ก็ต้องย่อมรู้ว่า โรงเรียนแบบไหน ได้งบประมาณขนาดไหน มากน้อยเพียงใด (คนที่ไม่ได้เป็นครู ลองเดาเล่นๆดูก็ได้นะครับ)
ที่นี้ โรงเรียนสังกัด สพฐ. (บ้านของพวกผมเอง) ก็มีการแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่
ขนาดของโรงเรียน ก็มีผลต่องบประมาณ เพราะนักเรียน ป.6 มี 200 คน กับ ป.6 มี 2 คน มันก็ต้องเปิดสอน ป.6 เหมือนกัน แต่ด้วยข้อจำกัดของขนาดของโรงเรียน เลยทำให้บางโรงเรียนที่เปิดสอน อนุบาล 1 - ป.6 ( 8 ชั้น) มีครู 2 คน กับ ผอ. 1 คน
... แล้วเค้าจะสอนได้อย่างไร
เชื่อว่า ต้องมีคนถามแบบนี้ แต่อยากให้รับทราบไว้ว่า ทุกวันนี้ โรงเรียนก็ยังต้องสอนอยู่
ทีนี้ ก็ต้องมีคนคิดว่า แล้วทำไม ไมุ่ยุบไปหละ...
ผมอยากให้คุณนึกถึงว่า ถ้าวันหนึ่ง ในหมู่บ้านของคุณอยู่ เข้าต้องการตัดถนนเพื่อสร้างความเจริญให้กับหมู่บ้าน แต่แผนที่มันตัดผ่านกลางบ้านคุณ ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่คุณกำลังอ่านบทความนี้อยู่ คุณจะยอมไหม บ้านของคุณอยู่มาตั้งนานอยู่ดีๆเค้าจะไล่คุณไปซะอย่างงั้น
เด็กพวกนี้ก็เหมือนกัน ... ฐานะทางบ้านก็ไม่ได้ร่ำรวยอะไร หากโรงเรียนโดนยุบไป เค้าจะต้องเดินทางไกลขึ้น เสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น เอาเป็นว่า คุณลองคิดภาพนะครับ ลูกของคุณอยู่ ป.2 ต้องปั่นจักรยานไปโรงเรียนที่ไกลขึ้น เพราะโรงเรียนเก่าถูกยุบ โดยเส้นทางที่ไป ต้องผ่านถนนสายหลัก มีรถบรรทุกอ้อย บรรทุกน้ำมันวิ่งผ่าน คุณจะยอมไหม...
เอาหละ จากเรื่องของขนาดของโรงเรียน และจำนวนครูแล้ว จะได้เข้าเรื่องที่ว่า ครูต้องทำอย่างไรบ้าง
ก็รู้อยู่แล้วนะครับ ว่าครูต้องทำหน้าที่สอนหนังสือเด็กนักเีัรียน ซึ่งปัจจุบัน มีการใช้หลักสูตรฯ 51 กำหนดไว้ว่า 1 วัน เด็ก ม.ต้น ต้องได้เรียน 6 ชม. ส่วนระดับประถม เรียน 5 ชั่วโมง ส่วนชั่วโมงเหลือเป็นซ่อมเสริม
ทีนี้ มีนักการศึกษากล่าวว่า ครูจะสอน 1 ชม. ต้องมีการเตรียมการสอน 1 ชม. เท่าๆกัน (การเตรียมการสอนที่ว่า คือการวิเคราะห์หลักสูตร ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ เขียนแผนจัดการเรียนรู้ เตรียมสื่อ เตรียมอุปกรณ์ เตรียมใบงาน เตรียมแบบทดสอบ <<< ทั้งหมดเนี่ย 1 ชม.)
แล้วครูโรงเรียนเล็กๆ ที่สอน 3 วิชา 5 วิชา คุณก็ลองคิดเองครับว่า จะต้องเตรียมการสอนอย่างไร ใช้เวลาแค่ไหน
ทีนี้ โรงเรียนที่มีครู 2 คน หละ จะสอนอย่างไร...
"สอนแบบบูรณาการสิ!!!" มีเสียงตะโกนออกมาจากหลังห้อง
ถ้าต้องสอนแบบบูรณาการ ก็จะมีคำถามตามมาว่า
- มีหลักสูตรรองรับไหม
- หลักสูตรมีคุณภาพไหม
- วัดผลได้อย่างไีร
- คณะกรรมการสถานศึกษาฯ อนุมัติไหม
- มีงานวิจัยรองรับหรือไม่
- ผลการศึกษาทำให้เด็กสอบ onet ได้หรือไม่
เอาแค่คำถาม 6 ข้อนี้ คุณจะสามารถตอบแทนโรงเรียนที่มีครู 2 คน ได้หรือไม่
....ประเด็นต่อมา ในโลกของความเป็นจริง ครูไม่ได้สอนอย่างเดียว
งานหลักๆของโรงเรียน มี 4 งาน
1. วิชาการ
2. ธุรการ
3. การเงิน
4. พัสดุ (ไม่ใช่กองพัสดุที่มุตากับวีกิจเค้าทำงานนะครับ)
เอาหละ ครู 2 คน มาจับฉลากกัน ว่าใครจะทำงานอะไร (ที่แน่ๆ การเงิน กับพัสดุ ห้ามเป็นคนๆเดียวกัน) แถมยังมีออกมาอีกว่า เรื่องพัสดุ ต้องมีหัวหน้่างานพัสดุ กับเจ้าหน้าที่พัสดุ อ้าาววววววว มีครูอยู่ 2 คน แล้วจะทำยังไง.... ทำอะไรไปก็ผิดระเบียบ เหอะๆ
ยังครับ ยังไม่หมด ต้องบ่นอีกหลายวัน ยังไงอย่าลืมติดตามบันทึกของครูบ้านนอก โดยครูแชมป์ พิริยะ นะครับ อย่างน้อยๆ ก็ได้รับฟังมุมหนึ่งของครูนะครับ
ผมเคยเขียนเรื่อง อาชีพครู ผู้รับใช้ที่ถูกประนาม แล้วมีคนส่งเมล์ และข้อความมาด่าว่าผม แล้วเค้าบอกว่า คนงานก่อสร้างเงินน้อยกว่าครู เค้าไม่ตายแล้วเหรอ... ผมไม่ได้ตอบโต้เค้าไป เพราะเค้าคงไม่ได้ยืนอยู่ในจุดที่เรายืน คนงานก่อสร้าง เค้าไม่ได้จ่ายค่าถ่ายเอกสารให้ลูกคนอื่น ไมไ่ด้ซื้อหนังสือไปให้ลูกคนอื่นค้นคว้า หรือไม่ต้องซื้อแฟ้มใส่งานเอง ซื้อลวดเย็บกระดาษเอง ถ้าเป็นครูแล้วเงินดีอย่างคนนั้นว่า ผมคงไม่ต้องขี่มอเตอร์ไซต์เก่าๆ ไปโรงเรียนซึ่งมีระยะทางไปกลับร่วม 50 กม. หรอกครับ
ติดตามต่อ วันพรุ่งนี้นะครับ พี่น้องชาวไทย
(อ่านต่อ http://seal2thai.blogspot.com/2012/12/2.html จ้าาาาา)
ให้กำลังใจครูบ้านนอกด้วยนะจ๊ะ ... ขอบคุณจ้า
...............................