แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ สาระวิทย์ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ สาระวิทย์ แสดงบทความทั้งหมด

30 กรกฎาคม 2557

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 13 ทักษะ
    
ตั้งแต่ครูแชมป์เรียนวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่สมัยเด็กๆ เรื่องของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่คุณครูทุกท่านให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ปัจจุบันเอง ครูวิทยาศาสตร์ทุกท่านก็ต้องสร้างให้ลูกศิษย์ของตนเองเกิดทักษะเหล่านี้ขึ้นตามช่วงวัย ทั้งนั้น เรามาดูกันดีกว่าครับว่า ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 13 ทักษะ มีอะไรบ้าง

      ทักษะที่ 1 ทักษะการสังเกต (Observation)
ความหมาย : เป็นวิธีการหาข้อมูลโดยตรงจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ การดู การดม การฟัง การชิม และการสัมผัส ทั้งนี้โดยไม่ใส่ความเห็นหรือประสบการณ์เดิมของผู้สังเกตลงไป
ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตเป็น ข้อมูลเชิงประจักษ์ 

อ่านต่อฉบับเต็มได้ที่ http://www.seal2thai.org/sara/sara273.htm

03 สิงหาคม 2556

น้ำแข็งแห้ง (dry ice) ทำจากอะไร

น้ำแข็งแห้งเกิดจากอะไร
           น้ำแข็งแห้ง (dry ice) เป็นคาร์บอนไดออกไซด์ในสถานะของแข็ง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าคาร์บอนไดออกไซด์แข็ง หรือ solid carbon dioxide เตรียมได้จากการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาผ่านกระบวนการอัดและทำให้เย็นลงภายใต้ความดันสูงกลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์เหลว แล้วลดความดันลงอย่างรวดเร็วโดยการพ่นคาร์บอนไดออกไซด์เหลวสู่ความดันบรรยากาศ ผลที่ได้คือเกล็ดน้ำแข็งคล้ายเกล็ดหิมะ แล้วจึงนำมาอัดเป็นรูปแบบและขนาดต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ ซึ่งมีทั้งรูปแบบเป็นก้อน (block) ขนาดครึ่งถึง 15 กิโลกรัม เป็นแผ่น (slice) ขนาดตั้งแต่ครึ่งถึง 1 กิโลกรัมเป็นแท่ง (pellet) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 มิลลิเมตร 9 มิลลิเมตร และ 15 มิลลิเมตร เป็นต้น

      น้ำแข็งแห้งแตกต่างจากน้ำแข็งธรรมดาทั่วไปคือ มีอุณหภูมิเย็นจัดถึง -79°C ในขณะที่น้ำแข็งธรรมดาทั่วไปมีอุณหภูมิประมาณ 0°C ที่อุณหภูมิห้องน้ำแข็งแห้งจะระเหิดกลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยไม่หลอมละลายเป็นของเหลวเหมือนน้ำแข็งธรรมดาทั่วไป จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงเรียก "น้ำแข็งแห้ง" น้ำแข็งแห้งจะให้ความเย็นมากกว่าน้ำแข็งธรรมดาทั่วไปถึง 2 หรือ 3 เท่าเมื่อเทียบโดยน้ำหนักหรือปริมาตรที่เท่ากัน

ประโยชน์ของน้ำแข็งแห้ง
          น้ำแข็งแห้งถูกนำมาใช้ประโยชน์หลาย ๆ ด้าน เช่น ในอุตสาหกรรมอาหารประเภทไอศกรีม นม เบเกอรี่ ไส้กรอก และเนื้อสัตว์ เพื่อถนอมอาหารในขั้นตอนการผลิตหรือในการขนส่งหรือเก็บอาหารสำหรับเสิร์ฟบนเครื่องบิน ใช้ในการขนส่งเวชภัณฑ์ใช้ในการทำความสะอาดเครื่องจักร แบบหล่อหรือแม่พิมพ์ หรือใช้ในการบดเย็นวัสดุสังเคราะห์ที่แตกยาก นอกจากนี้ยังใช้ในการทำหมอก ควัน ในการแสดงต่าง ๆ และอาจใช้ผสมในเครื่องดื่มเพื่อให้เกิดฟองปุด และให้เกิดความเย็น เป็นต้น

13 มกราคม 2556

จำนวนห้องของหัวใจสัตว์

จำนวนห้องของหัวใจสัตว์ประเภทต่างๆ
ปลากัด 2 ห้อง

อึ่งอ่าง 3 ห้อง

โลมา 4 ห้อง

งูดิน 3 ห้อง

จิ้งจก 3 ห้อง

กบ 3 ห้อง

ฉลาม 2 ห้อง

กิ้งก่า 3 ห้อง

ลิง 4 ห้อง

จระเข้ 4 ห้อง

ไก่ฟ้า 4 ห้อง

คางคก 3 ห้อง


สัตว์น้ำมี 2 ห้อง
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและสัตว์เลื้อยคลานยกเว้นพวกจระเข้ 3 ห้อง
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ปีกและพวกจระเข้ 4 ห้อง


ให้กำลังใจครูบ้านนอกด้วยนะจ๊ะ ... ขอบคุณจ้า




...............................

30 สิงหาคม 2555

พลังงานศักย์ พลังงานจลน์ พลังงานกล เฮ้ออออออ


    ตามคำนิยามของนักวิทยาศาสตร์ พลังงงาน (Energy) คือ ความสามารถในการทำงาน (Ability to do work) โดยการทำงานนี้อาจจะอยู่ในรูปของการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนรูปของวัตถุ ก็ได้
การจำแนกพลังงานตามลักษณะการทำงาน
1. พลังงานศักย์ (Potential Energy) เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุถูกวางอยู่ในตำแหน่งที่สามารถ เคลื่อนที่ได้ไม่ว่าจากแรงโน้มถ่วงหรือแรงดึงดูดจากแม่เหล็ก เช่น ก้อนหินที่วางอยู่บนขอบที่สูง
2. พลังงานจลน์ (Kinetic Energy) เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุเคลื่อนที่ เช่น รถที่กำลังวิ่ง ธนูที่พุ่งออกจากแหล่ง จักรยานที่กำลังเคลื่อนที่ เป็นต้น
3. พลังงานสะสม (Stored Energy) เป็นพลังงานที่เก็บสะสมในวสัดุ หรือ สิ่งของต่างๆ เช่น พลังงานเคมีที่เก็บสะสมไว้ในอาหาร ในก้อนถ่านหิน น้ำมัน หรือไม้ฟืน ซึ่งพลังดังกล่าว จะถูกเก็บไว้ในรูปขององค์ประกอบทางเคมีหรือของวัสดุหรือสิ่งของนั้นๆ และจะถูกปล่อยออกมาเมื่อวัสดุหรือสิ่งของดังกล่าวมีการเปลี่ยนรูป เช่น การเผาไม้ฟืนจะให้พลังงานความร้อน เป็นต้น

     ทั้งพลังงานศักย์และพลังงานจลน์ ล้วนเป็นพลังงานกลที่สามารถเปลี่ยนรูปกลับไป กลับมาได้
พลังงานศักย์จะสะสมอยู่ในวัตถุที่พร้อมจะเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ ขณะที่พลังงานจลน์เป็นพลังงานที่อยู่ในวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ และตามกฏการอนุรักษ์พลังงานค่าของพลังงานกลจะคงที่
ดังนั้น  พลังงานกล = พลังงานศักย์ + พลังงานจลน์ เสมอ
    เมื่อพลังงานในระบบ (พลังงานกล) คงที่ แล้วพลังงานศักย์เพิ่มขึ้น พลังงานจลน์จะลดลง แต่ถ้า พลังงานศักย์ลดลง พลังงานจลน์จะเพิ่มขึ้น

ที่เพิ่มเติมคือ พลังงานศักย์ที่พบมาก มี 2 ชนิด
1. พลังงานศักย์โน้มถ่วง เกิดจากพลังงานที่สะสมไว้ในวัตถุที่อยู่สูงขึ้นไป
   กล่าวง่ายๆ คือ พลังงานที่สะสมอยู่ในวัตถุเมื่อเราทำให้มันอยู่ในระดับสูงขึ้นกว่าเดิม เช่นยกก้อนหินขึ้นข้างบนก็จะมีพลังงานศักย์เพิ่มขึ้น
   (Ep = mgh เมื่อ Ep คือพลังงานศักย์ m คือมวลของวัตถุ g คือความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก และ h คือระดับความสูง)
   เมื่อทิ้งก้อนหินลงมาพลังงานศักย์จะเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานจลน์ โดยเพิ่มความเร็วขึ้นครับ (Ek = 1/2 m v^2 เมื่อ Ek คือพลังงานจลน์
    m คือมวลของวัตถุ และ v คือความเร็วของวัตถุ) ดังนั้นเมื่อเรายกวัตถุไว้สูงมากๆ จะตกถึงพื้นแรงกว่าเมื่อยกไว้ต่ำๆ
2. พลังงานศักย์ยืดหยุ่น เช่นเราดึงสปริงจากจุดสมดุล ยิ่งดึงแรงมากความยาวของสปริงที่ห่างจากสมดุลก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
  (พลังงานศักย์)มาก (Ep = -kx เมื่อ Ep คือพลังงานศักย์ k คือค่าคงตัวของสปริง คือสปริงอ่อนหรือแข้งนั่นเอง และ x คือระยะที่ยืดออก)
  ส่วนพลังงานจลน์ใช้สูตรเดียวกันกับพลังงานศักย์โน้มถ่วงครับ (Ek = 1/2 m v^2 เมื่อ Ek คือพลังงานจลน์ m คือมวลของวัตถุ และ v คือ
  ความเร็วของวัตถุ) นั่นคือยิ่งยืดไกล วัตถุจะถูกดึงให้เคลื่อนที่เร็วขึ้นด้วย


ให้กำลังใจครูบ้านนอกด้วยนะจ๊ะ ... ขอบคุณจ้า




...............................
วัตถุมงคล อ.หนู กันภัย     สอนพิเศษพิษณุโลก  เรียนพิเศษในพิษณุโลก

ให้คะแนนข้อเขียนนี้...คุณจะให้กี่ดาวดีจ๊ะ